ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?

ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?


เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์

       ส่วนฝากประจำปลอดภาษีที่เมื่อกี้เล่นมุกไป ดอกเบี้ยก็ไม่เสียภาษีเหมือนกันแต่เราต้องทำตามเงื่อนไขการฝากที่ธนาคารกำหนดไว้ด้วย 

       ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่มีดราม่าในช่วงก่อนหน้านี้ อยากให้เข้าใจชัดๆว่า ดอกเบี้ยที่ต้องเสียภาษีคือต้องได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท ถึงจะเสียภาษี แต่ถ้าได้ไม่ถึงก็ยกเว้นภาษีเหมือนกับทั้งหมดที่ว่ามานั่นแหละจ้า

       แต่ตรงนี้รู้ไว้หน่อยนะ สมมติว่าถ้าได้ดอกเบี้ยเกินจริงๆ เช่นได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์มาทั้งหมด 25,000 บาท ตรงนี้เราจะเสียภาษีจากยอด 25,000 บาทเลยนะ ไม่ใช่แค่ส่วนที่เกินมา 5,000 บาท อันนี้ฝากไว้ให้เป็นความรู้กันครับผม

       ทีนี้.. กรณีดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทที่กรมสรรพากรออกมาบอกว่า ต้องมีการแจ้งความยินยอมกับธนาคารว่าให้ส่งข้อมูลให้สรรพากรถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีนั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แยกย่อยออกมาเป็นดราม่าต่อแบบนี้ คือ 

       1. ถ้าหากยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร กรณีนี้ถ้าดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท เราอยู่เฉยๆไม่ไปทำอะไร นั่นคือยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร และธนาคารจะไม่หักภาษีเราไว้สักบาท ดังนั้นถ้าไม่ลำบากใจในการส่งข้อมูลและดอกเบี้ยเราไม่เกิน 20,000 บาทแน่ๆ ก็อยู่เฉยๆ ชิวๆ ไป

       2. ถ้าหากไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร เราต้องถูกธนาคารหักภาษีไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้ทันที ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเท่าไรก็ตาม ต่อให้ได้ไม่เกิน 20,000 บาทก็ต้องโดนหักภาษีไว้ด้วยนะจ๊ะ

       โอเค ทีนี้มากันต่อในส่วนของเงินฝากประจำกันบ้าง กรณีของเงินฝากประจำเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15 % จากยอดดอกเบี้ยที่ได้ นั่นคือ ถ้าเราได้เงิน 100 บาท เราจะถูกหักภาษีไว้ 15 บาทแล้วได้เงินแค่ 85 บาทเท่านั้น โดยเรามีสิทธิ์เลือกเอารายได้ดอกเบี้ยจำนวน 100 บาทตรงนี้มายื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีได้ ถ้าหากเราเสียภาษีไม่ถึงฐาน 15% ก็มีสิทธิได้คืนภาษีไป หรือจะเลือกให้หักไปแล้วจบไม่ต้องเอามายื่นภาษีเลยก็ได้เหมือนกัน (ตรงนี้ก็เป็นทางเลือกว่าจะเลือกแบบไหนที่คุ้มค่ากับเรามากกว่านั่นเอง)

       ส่วนวิธีเช็คว่าเงินฝากไหนจะโดนหักไม่หักภาษี แนะนำง่ายๆ คือ ตอนเปิดบัญชีถามพนักงานเลยว่าฝากแบบนี้เสียภาษีไหมเสีย 15% หรือเปล่า ถ้าหากว่าอยากขอคืนภาษี ก็อย่าลืมขอใบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีครับผม  

       ดังนั้นทางเลือกชีวิตสำหรับเรื่องดอกเบี้ยนั้นมีหลายทางมากครับ เราสามารถเลือกจะฝากเงินแบบที่ไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรือจะเลือกฝากแล้วเสียภาษีก็ได้ เอาแบบที่เราได้ผลตอบแทนโดยรวมมากกว่า แค่นี้ก็น่าจะมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นแล้วครับผม

ขอขอบคุณบทความจากเว็บไซต์ : https://aommoney.com/

 672
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ
ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจพอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิดความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือจนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชีมีดังนี้
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์