ควรทำอย่างไร? หากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณผิด

ควรทำอย่างไร? หากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณผิด


การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร

จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีเศษเป็นจุดทศนิยม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติดังนี้

       1. ทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดเศษทิ้ง

             เช่น มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 100 บาท

             คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7/107 x 100 = 6.542 บาท

       ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม = 6.54 บาท

       2. ทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปให้ปัดเศษขึ้น

             เช่น มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 180 บาท

              คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7/107 x 180 = 11.775 บาท

       ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม = 11.78 บาท

กรณีได้รับใบกำกับภาษีโดยภาษีมูลค่าเพิ่มผิดเนื่องจากจุดทศนิยม ให้ปฏิบัติดังนี้

1. ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี > ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

       วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

2. ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี < ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

       วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี

3. กรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่ภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องเนื่องจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม

       วิธีปฏิบัติ: ต้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษีดำเนินการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะนำไปเป็นภาษีซื้อได้

แหล่งที่มา : Link

 4131
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์