ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?

ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?


เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์

       ส่วนฝากประจำปลอดภาษีที่เมื่อกี้เล่นมุกไป ดอกเบี้ยก็ไม่เสียภาษีเหมือนกันแต่เราต้องทำตามเงื่อนไขการฝากที่ธนาคารกำหนดไว้ด้วย 

       ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่มีดราม่าในช่วงก่อนหน้านี้ อยากให้เข้าใจชัดๆว่า ดอกเบี้ยที่ต้องเสียภาษีคือต้องได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท ถึงจะเสียภาษี แต่ถ้าได้ไม่ถึงก็ยกเว้นภาษีเหมือนกับทั้งหมดที่ว่ามานั่นแหละจ้า

       แต่ตรงนี้รู้ไว้หน่อยนะ สมมติว่าถ้าได้ดอกเบี้ยเกินจริงๆ เช่นได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์มาทั้งหมด 25,000 บาท ตรงนี้เราจะเสียภาษีจากยอด 25,000 บาทเลยนะ ไม่ใช่แค่ส่วนที่เกินมา 5,000 บาท อันนี้ฝากไว้ให้เป็นความรู้กันครับผม

       ทีนี้.. กรณีดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทที่กรมสรรพากรออกมาบอกว่า ต้องมีการแจ้งความยินยอมกับธนาคารว่าให้ส่งข้อมูลให้สรรพากรถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีนั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แยกย่อยออกมาเป็นดราม่าต่อแบบนี้ คือ 

       1. ถ้าหากยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร กรณีนี้ถ้าดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท เราอยู่เฉยๆไม่ไปทำอะไร นั่นคือยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร และธนาคารจะไม่หักภาษีเราไว้สักบาท ดังนั้นถ้าไม่ลำบากใจในการส่งข้อมูลและดอกเบี้ยเราไม่เกิน 20,000 บาทแน่ๆ ก็อยู่เฉยๆ ชิวๆ ไป

       2. ถ้าหากไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร เราต้องถูกธนาคารหักภาษีไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้ทันที ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเท่าไรก็ตาม ต่อให้ได้ไม่เกิน 20,000 บาทก็ต้องโดนหักภาษีไว้ด้วยนะจ๊ะ

       โอเค ทีนี้มากันต่อในส่วนของเงินฝากประจำกันบ้าง กรณีของเงินฝากประจำเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15 % จากยอดดอกเบี้ยที่ได้ นั่นคือ ถ้าเราได้เงิน 100 บาท เราจะถูกหักภาษีไว้ 15 บาทแล้วได้เงินแค่ 85 บาทเท่านั้น โดยเรามีสิทธิ์เลือกเอารายได้ดอกเบี้ยจำนวน 100 บาทตรงนี้มายื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีได้ ถ้าหากเราเสียภาษีไม่ถึงฐาน 15% ก็มีสิทธิได้คืนภาษีไป หรือจะเลือกให้หักไปแล้วจบไม่ต้องเอามายื่นภาษีเลยก็ได้เหมือนกัน (ตรงนี้ก็เป็นทางเลือกว่าจะเลือกแบบไหนที่คุ้มค่ากับเรามากกว่านั่นเอง)

       ส่วนวิธีเช็คว่าเงินฝากไหนจะโดนหักไม่หักภาษี แนะนำง่ายๆ คือ ตอนเปิดบัญชีถามพนักงานเลยว่าฝากแบบนี้เสียภาษีไหมเสีย 15% หรือเปล่า ถ้าหากว่าอยากขอคืนภาษี ก็อย่าลืมขอใบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีครับผม  

       ดังนั้นทางเลือกชีวิตสำหรับเรื่องดอกเบี้ยนั้นมีหลายทางมากครับ เราสามารถเลือกจะฝากเงินแบบที่ไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรือจะเลือกฝากแล้วเสียภาษีก็ได้ เอาแบบที่เราได้ผลตอบแทนโดยรวมมากกว่า แค่นี้ก็น่าจะมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นแล้วครับผม

ขอขอบคุณบทความจากเว็บไซต์ : https://aommoney.com/

 666
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
เจ้าของธุรกิจทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มักนิยมทำการตลาดผ่านโซเชียล เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและรวดเร็ว แต่เจ้าของธุรกิจอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายจ่ายตรงนี้มากเท่าไหร่
ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย)  เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย  สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก 
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์