หนี้สิน

หนี้สิน


หนี้สิน

( ภาษาอังกฤษ There are many types )
บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น

จากความหมายที่ได้กล่าวมาในตอนต้น
หนี้สินจึงเป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จากสัญญาข้อบังคับกฏหมาย การดำเนินการตามปกติของกิจการ ประเพณีการค้าหรือจากความต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์เชิงรุกกับลูกค้า โดยต้องชดใช้ด้วยการจ่ายเงินสด การโอนสินทรัพย์อื่นๆ หรือการให้บริการ ซึ่งจะมีผลทำให้สินทรัพย์หรือส่วนของเจ้าของลดลง ประเภทของหนี้สิน

ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่องแม่บทการบัญชี ของสมาคมนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้คำนิยามของหนี้สิน ว่า ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

หนี้สินมีกี่ประภทอะไรบ้าง

ประเภทหนี้สิน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1. หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืน ภายใน 1ปี หรือภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนหรือด้วยการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นแทน
2. หนี้สินโดยประมาณ คือ หนี้สินซึ่งไม่ทราบจำนวนแน่นอนและได้ประมาณขึ้น
3. หนี้สินระยะยาว คือ หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนมากกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
4. หนี้สินอันอาจเกิดขึ้น คือ รายการที่อาจจะเป็นพันธะผูกพันในอนาคต
5. หนี้สินอื่น คือ หนี้สินซึ่งไม่อาจจัดเข้าในหนี้สินประเภทใดๆ ได้

หนี้สิน คือ ( Liabilities )

หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันของกิจการอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืม หรืออื่นๆ ซึ่งกิจการต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์หรือบริการ


ที่มา : Link

 920
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลายบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว ในบทความนี้ Moneywecan จะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต้นทุนแฝงกันให้มากขึ้นค่ะ
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์