จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ


ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร

กรณีที่บริษัทมีตราประทับอยู่แล้ว แต่อาจชำรุด สูญหาย หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ บริษัทจะต้องแจ้งจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับใหม่

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  • การจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ
  • กรณีตราประทับบริษัทสูญหาย ให้ระบุ คำว่า "ตราหาย" แทนที่การประทับตราในคำขอจดทะเบียนและหนังสือมอบอำนาจ
  • กรณีตราประทับบริษัทชำรุด ให้ระบุ คำว่า "ตราชำรุด"
  • กรรมการผู้มีอำนาจ มีหน้าที่ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับ


เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  1. แบบ บอจ.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดและหน้าหนังสือรับรอง
  2. คำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  5. ดวงตราสำคัญดวงใหม่
  6. หนังสือมอบอำนาจ
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

"ตัวอย่างการกรอกเอกสาร"


ค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนแก้ไขตราประทับบริษัท 500 บาท
  • หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท
  • รับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.twentyfouraa.com
 18515
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทุกประเภทเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน การจัดวางระบบการเงินและการบัญชีเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะนอกจากจะทำให้เราทราบสถานะของกิจการว่ามีผลกำไรขาดทุนหรือไม่อย่างไร การจัดทำบัญชีและการเงินยังช่วยให้เราทราบข้อมูลของกิจการ เช่น ทราบจำนวนทรัพย์สิน หนี้สิน
เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
ในการทำงบการเงินนั้น  นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้  2 แบบคือ
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์