เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสดทางบัญชี

เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสดทางบัญชี


ในการทำงบการเงินนั้น  นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้  2 แบบคือ

1.เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basic)
เป็นการบันทึกรายการค้าต่างๆ ให้อยู่ในระยะเวลาที่เกิดขึ้นในงวดของบัญชีนั้นๆ  โดยค่าใช้จ่ายหรือรายได้จะรับเป็นเงินสดหรือไม่ต้องการ  โดยหลักที่ว่ามีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนแล้วว่าจะได้รับผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในอนาคต  สามารถวัดมูลค่านั้นได้ เอาง่ายๆ  คือหลักเกณฑ์ที่ว่านี้ให้หลักของเวลาเป็นหลัก  โดยไม่คำนึงถึงเงินสดว่าจะได้รับหรือไม่ก็ได้  ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายจะต้องอยู่ในงวดบัญชีนั้น  เกณฑ์ดังกล่าวจึงสามารถที่จะค้างได้เพราะไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดนั้นเอง

ตัวอย่าง จ่ายค่าเช่าอาคารในวันที่ 1 ตุลาคม  12,000 บาทซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี รายการค้าตามตัวอย่างหมายถึงเราได้จ่ายเงินให้กับเจ้าของไปแล้ว 12,000 บาท  แต่พอถึงเวลาสิ้นงวดหรือสินปี  ซึ่งในเกณฑ์คงค้าง  ในเดือนธนวาคม  แสดงว่าเราจ่ายไปเป็นค่าเช่า 3 เดือน  ตุลาคม – ธันวาคม เท่านั้น  ส่วนที่เหลือยังไม่ได้จ่ายจึงเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้านั้น

ข้อดีของเกณฑ์นั้นมีข้อดีคือ  ให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์โดยใช้เวลาเป็นหลักทำให้ได้ข้อมูลเทียบกับระยะเวลาที่แท้จริงกับเงินสดของกิจการทั้งที่จะได้จ่ายและได้รับในอนาคต

2.เกณฑ์เงินสด (Cash Basic)
เป็นการบรรทุกรายการค้าโดยไม่คำนึงถึงเวลา  แต่จะบันทึกทั้งหมดเมื่อได้จ่ายหรือได้รับเงินสดเท่านั้น

ตัวอย่าง รับค่าบริการทำความสะอาดมา 30,000 บาทเป็นค่าใช้บริการในระยะ 1 ปี  โดยได้รับในวันที่ 1 กันยายนเกณฑ์เงินสดก็จะรับรู้ว่าเป็นรายได้ทันที 30,000 ในปีนั้นทั้งหมดเลย  โดยไม่ค้างไว้ในปีต่อไป

ดังนั้นแล้วการใช้เกณฑ์เงินสดหากคำนวณรายได้ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้กำไร- ขาดทุนนั้นจะไม่สามารถได้ยอดที่ตรงในระยะเวลาที่เป็นจริง  จึงทำให้บางงวดมีกำไรน้อย  บางงวดมีกำไรมากจึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน  เกณฑ์คงค้างจะอยู่ในระยะเวลาที่ถูกต้องกว่าโดยจะต้องทำการปรับปรุงหลังจากที่ได้งบทดลองแล้ว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : http://www.accountclub.net/

 594
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "AI" คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถทำงานหรือประมวลผลข้อมูลได้เสมือนกับสมองของมนุษย์ โดย AI สามารถเรียนรู้ (Learning) คิดวิเคราะห์ (Reasoning) และปรับปรุงหรือแก้ไขตัวเองได้ (Self-correction) ในกระบวนการทำงาน ซึ่งถูกนำมาใช้ในหลายด้าน เช่น หุ่นยนต์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) การรู้จำภาพ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์