หลัก 3 ข้อ เพื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ร้านค้า

หลัก 3 ข้อ เพื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ร้านค้า


ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย

ส่วนใครที่กำลังคิดว่าการทำบัญชีให้ร้านค้าออนไลน์นั้นเป็นเรื่องยาก ลองมาดูหลักการ 3 ข้อง่ายๆ สำหรับทำบัญชีให้ร้านค้าออนไลน์ที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ได้จริง ดังนี้

1. ทำตารางให้อ่านง่ายและหมั่นบันทึกยอดรับ-จ่ายทุกวัน

การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ คือพื้นฐานสำคัญของการทำบัญชีทุกประเภท หากคุณทำบัญชีด้วยตัวเองอาจเลือกทำตารางในแบบที่เราเข้าใจง่าย เลือกดูข้อมูลได้ง่าย และยิ่งข้อมูลละเอียดเท่าไรก็ยิ่งทำให้เราสามารถสรุปรายการต่างๆ และมองเห็นความเคลื่อนไหวของตัวเลขสถิติของร้านได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้อย่าลืมบันทึกยอดรายรับและรายจ่ายของร้านทุกวันให้เป็นนิสัย เพราะถึงเราจะเปิดร้านค้าออนไลน์ที่ระบบของเว็บไซต์ทำการบันทึกยอดแบบอัตโนมัติให้อยู่แล้ว แต่ก็ควรจดทุกวันจะดีที่สุด นอกจากนี้ใครที่เปิดร้านแบบเพจเฟซบุ๊คหรือร้านค้าทางช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่ไม่มีการบันทึกยอดรายรับและรายจ่าย ยิ่งต้องหมั่นจดบันทึกและทำบัญชีของร้านให้เป็นนิสัยในทุกๆ วัน ไม่ควรมาจดย้อนหลังเพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลและตัวเลขได้

2. ซื่อสัตย์กับการประกอบการและจดบันทึกทุกครั้งที่งบประมาณของร้านมีการเคลื่อนไหว

หลายครั้งที่เจ้าของร้านมักจะชอบหยิบยืมเงินส่วนกลางของร้านไปหมุนเวียนเพื่อใช้ส่วนตัวด้วยเหตุผลต่างๆ เพราะคิดว่านั่นก็คือเงินของคุณ แต่อย่างไรก็ตามการนำเงินงบประมาณของร้านไปใช้อาจทำให้เมื่อถึงเวลาสรุปยอดประจำเดือนหรือประจำปี ตัวเลขรายรับรายจ่ายที่ได้อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว เราจึงต้องทำการจดบันทึกทุกครั้งที่นำเงินออกจากกองกลางของร้านไม่ว่าจะนำไปใช้จ่ายด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หากต้องการทำบัญชีอย่างถูกต้องและครบถ้วน ก็ต้องจดบันทึกรายการต่างๆ ด้วยความซื่อสัตย์ 

3. สรุปยอดบัญชีทุกเดือนและทำสรุปรายปี

การสรุปยอดบัญชีทุกๆ เดือนจะทำให้เรามองเห็นภาพรวมรายรับและรายจ่ายของร้านค้าออนไลน์ของเรา นอกจากนี้ยังทำให้เมื่อถึงเวลาทำสรุปยอดรายปีก็สามารถรวบรวมข้อมูลและทำสรุปได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยสรุปข้อมูลทุกครั้งเมื่อครบกำหนดในแต่ละเดือน

การทำบัญชีให้ร้านค้าออนไลน์นั้นจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงแต่ต้องมีการวางระบบที่ดีและใช้ความละเอียดรอบคอบในการจดบันทึกเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรเริ่มทำบัญชีให้ร้านค้า เพื่อให้ให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณเป็นระบบระเบียบ และสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินต่างๆย้อนหลังได้อย่างถูกต้อง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา : LINK

 1067
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์