VES คืออะไร?

VES คืออะไร?



VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ต้องมาจดทะเบียนและยื่นแบบเมื่อใด
ผู้ประกอบการ e-Sevice ต้องจดทะเบียนกับระบบ VES (VAT for Electronic Service) ที่ www.rd.go.th โดยสามารถยื่นแบบ และชําระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบ VES ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

บังคับใช้กฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

  • สามารถใช้กลไกในการตรวจสอบ โดยการเชิญพบ หรือ ออกหมายเรียกไปยังผู้ประกอบการเพื่อตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี
  • การออกหมายเรียกพยานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงินต่างๆ เพื่อขอข้อมูลการทําธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน มาใช้ประกอบการตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี
  • การแสดงรายชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th (ภาษาอังกฤษ) ทําให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ประกอบการต่างประเทศตรวจสอบรายชื่อได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่นานาประเทศ ใช้ ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) แก่ผู้ประกอบการที่ไม่ยอมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประโยชน์ที่ประเทศและสังคมไทยจะได้รับ

  • สร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษีระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • เป็นการสร้างฐานภาษีใหม่ สามารถเก็บภาษีจากผู้ประกอบการต่างชาติ นํากลับมาเป็นรายได้เพื่อนําไปพัฒนาประเทศและช่วยให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ที่มา : Link
 705
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชี มาจากลูกค้า มาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงาน ทั่วประเทศไทย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์