ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้

ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้

การปิดงบการเงินคืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธรุกิจ

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของ "งบการเงิน" ก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร



งบการเงิน (Financial statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี สำหรับธุรกิจทั่วไปมักจะปิดงบการเงินปีละหนึ่งครั้ง แต่สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจะปิดงบการเงินทุก 3 เดือน ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์จะประกอบไปด้วย 5 ส่วนนี้คือ

  1. งบแสดงฐานะทางการเงินหรืองบดุล (Balance Sheet)
  2. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
  3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
  4. งบกระแสเงินสด ( Cash Flow statement)
  5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note to Financial Statement)

การปิดงบการเงิน หมายถึง กระบวนการที่บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ใช้เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและสถานะการเงินขององค์กรในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหลังจากที่กิจการทำงบการเงินแล้ว จะต้องมีการปิดงบการเงิน เมื่อสิ้นรอบบัญชี เพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด เป็นการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลการเงิน เช่น รายได้ รายจ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และภาวะการเงินอื่นๆ ขององค์กร

โดยผู้ที่มีหน้าที่ปิดงบการเงินคือนักบัญชีหรือสำนักงานบัญชี เพราะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องของการทำบัญชี ให้สามารถจัดส่งงบการเงินตามกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับหากไม่ทำการส่งงบการเงิน

6 ขั้นตอน ในการปิดงบการเงิน รู้ไว้ไม่ควรพลาด

การปิดงบการเงินมีหลายขั้นตอน ซึ่งรวมถึงการบันทึกข้อมูลการเงินทั้งหมดลงในระบบบัญชี การตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง การสร้างรายงานทางการเงิน เช่น งบทดลอง งบการเงินสรุป รายงานการเงินอื่นๆ และการเตรียมเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถแบ่งออกได้ 6 ขั้นตอน คือ



1. รวบรวมเอกสารข้อมูลการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรายการบัญชีต่างๆ ทั้งบิลขายและบิลซื้อ โดยจัดเรียงให้เป็นหมวดหมู่ เรียงตามบิลของบริษัท ตามลำดับเลขที่เอกสาร เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ และง่ายต่อการสรุปยอดบัญชี
2. กรณีที่กิจการเป็นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT จะต้องมีรายงานภาษีซื้อ-ขายให้ครบถ้วน โดยต้องนำเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ-ขายแนบมาพร้อมกับรายงานภาษีซื้อ-ขาย เพื่อยื่นเอกสารตามที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน
3. ตรวจสอบรายการเดินบัญชี หรือ Bank Statement ของบริษัทในแต่ละเดือน ว่ามีเอกสารครบถ้วนหรือไม่ หากขาดเดือนไหนไป ให้ขอรายการเดินบัญชีจากธนาคาร เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบ
4. เมื่อได้เตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการติดต่อสำนักงานบัญชี ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้จัดทำบัญชีงบการเงินให้ แต่หากกิจการมีเจ้าหน้าที่บัญชีอยู่แล้วก็สามารถจัดทำงบการเงินได้เลย
5. เมื่อปิดงบการเงินเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้รวบรวมเอกสารจากการปิดงบการเงินในแต่ละรอบบัญชีให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น สมุดรายวันแยกประเภท (G/L) ทะเบียนทรัพย์สิน สมุดรายวันรับ สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันทั่วไป เป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับกิจการต่อไป ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
6. ส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธรกิจการค้า และกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

คุณสมบัติของระบบ Financial Management ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed

โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed มีระบบ Financial Management ที่ช่วยจัดการงบการเงินได้อย่างมืประสิทธิภาพ ที่สามารถสร้างงบการเงินได้ ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อช่วยให้นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจสามารถจัดการงงบการเงิน รวมไปถึงงานด้านบัญชีต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกเรื่องของงานบัญชี เทียบเท่ากับโปรแกรม ERP นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การจัดการงานด้าน เอกสาร, การขาย, การจัดซื้อ, สต๊อกสินค้า, ไปจนถึงบัญชี, การเงิน, และงานทางด้านภาษี ที่ใช้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

  • สามารถประมาณการรายรับได้จาก ใบสั่งขาย, บันทึกขาย, ใบวางบิล
  • สามารถประมาณการรายจ่ายได้จาก ใบสั่งซื้อ, บันทึกซื้อ
  • สามารถดูรายงานเปรียบเทียบประมาณการรายรับ-รายจ่ายได้จาก
    • ใบสั่งขายเปรียบเทียบกับใบสั่งซื้อ
    • บันทึกขายเปรียบเทียบกับบันทึกซื้อ
  • สามารถดูรายงานเปรียบเทียบประมาณการเช็ครับ-เช็คจ่าย
  • สามารถดูกราฟเปรียบเทียบประมาณการเช็ครับ-เช็คจ่าย
  • สามารถดูประมาณการ Statement ของเช็คได้ เพื่อดูยอดเงินในอนาคต ณ วันที่เรียกดูรายงาน
  • สามารถสร้างงบการเงินได้ตามต้องการ เช่น งบดุล, งบกำไรขาดทุน,งบกระแสเงินสด, หมายเหตุประกอบงบการเงิน

วิธีการสร้างงบการเงินต่างๆ ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed อ่านเพิ่มเติม
 

1.สร้างงบดุล แบบเปรียบเทียบ รายเดือน รายปี
2.สร้างงบกำไรขาดทุน แบบเปรียบเทียบ รายเดือน รายปี
3.สร้างงบกระแสเงินสด
4.หมายเหตุประกอบงบการเงิน


ข้อดีของการปิดงบการเงิน

การปิดงบการเงินเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการบริหารจัดการทางการเงินขององค์กร เพราะช่วยให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องสามารถประเมินผลการดำเนินงานและสถานะการเงินขององค์กรได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจต่างๆ ได้ในอนาคต

1. ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นได้มองเห็นสถานะการเงินปัจจุบันขององค์กร ทั้งรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการบันทึกทรัพยากรทางการเงินอื่น ๆ ที่มีอยู่ เช่น เงินสด หนี้สิน และทรัพย์สิน ช่วยให้ผู้บริหารนำข้อมูลที่ได้มาช่วยตัดสินใจในกิจกรรมทางธุรกิจในอนาคตได้ เช่น การลงทุนใหม่หรือการส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ
2. สามารถประเมินความสามารถในการชำระหนี้ขององค์กร ผู้ลงทุนหรือเจ้าของกิจการสามารถใช้ข้อมูลในงบการเงินเพื่อประเมินความเสี่ยงทางการเงินและความน่าเชื่อถือขององค์กรเมื่อเข้าร่วมหรือลงทุนในองค์กรต่างๆ
3. การปิดงบการเงินเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการทางการเงิน ซึ่งส่งผลให้เจ้าของกิจการสามารถรู้กำไรขาดทุน ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ช่วยบริหารจัดการองค์กรและจัดการทรัพยากรทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้สามารถระบุและประเมินความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร ตัวชี้วัดทางการเงิน เช่น สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของทุนเอกสารหนี้ที่ครอบครอง และอื่น ๆ จะช่วยในการระบุและจัดการความเสี่ยงทางการเงินเพื่อสร้างความเสถียรในองค์กร

ที่มา : inflowaccount.co.th

 262
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์