เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี

เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี


ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า

“นักกฎหมาย เปรียบเสมือน เหยี่ยว” : “นักบัญชี เปรียบเสมือน นกพิราบ”

อย่างไรก็ตามนักบัญชีก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องของกฎหมาย แม้จะไม่มีความจำเป็นถึงกับจะต้องสามารถอ้างมาตราของกฎหมายได้ในทุกครั้ง แต่นักบัญชีก็จะต้องรู้ว่าเรื่องที่จะต้องทำของงานบัญชีนั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง

กฎหมายและข้อปฏิบัติหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ที่นักบัญชีจำเป็นต้องรู้
  1. พระราชบัญญัติการบัญชี 2543
  2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547
  3. ประกาศกรมทะเบียนการค้า (ที่ยังมีผลบังคับอยู่)
  4. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  6. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
  7. ประมวลรัษฎากร
  8. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
  9. มาตรฐานการบัญชี (ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย)
  10. ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๖๑
  11. ข้อกำหนดอื่น(ที่อาจมี อันเกิดจากลักษณะเฉพาะของแต่ละประเภทธุรกิจที่ต้องมีกฎหมายเฉพาะในการควบคุม)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.greenprokspforsme.com  หรือ Click
 729
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนภาษีสิ้นปีเป็นกระบวนการในการจัดการเรื่องการเงินเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีประจำปีที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงการกำหนดเวลาการขายการซื้อหรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อให้สามารถดำเนินการในกรอบเวลาที่ดีที่สุด การชะลอการกระทำหรือสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้นก่อนสิ้นปีจะมีผลอย่างมากต่อการเรียกเก็บภาษี มีปัจจัยภายในและภายนอกหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อการวางแผนภาษีสิ้นปีเช่นกัน
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์