การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล

การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล


ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย


- การจัดทำงบประมาณ 
- การจัดทำแผนการเงิน
- การขออนุมัติ

เมื่อได้งบประมาณที่ผ่านการอนุมัติมาแล้ว ก็จะต้องส่งข้อมูลงบประมาณ ให้ผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินทำการ set up งบประมาณ เข้าโปรแกรมบัญชี เพื่อเป็นตัวตั้ง และควบคุมการใช้จ่าย ในระหว่างปี เพื่อไม่ให้เกินวงเงินงบประมาณ

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งระบบของการจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน จะขอแบ่งงานบัญชีการเงินเป็น 2 ส่วน คือ

     1.งานงบประมาณ

     2.งานบัญชีการเงิน

จากภาระหน้าที่ดังกล่าว จะเห็นว่างานบัญชีการเงิน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการได้ข้อมูลเพื่อการบริหารงบประมาณ ดังนั้นผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินจะต้องจัดวางระบบบัญชีการเงิน และหาเครื่องมือ คือโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงาน เพื่อให้เป็นเครื่องมือของการบริหารงบประมาณที่ง่าย และสะดวกต่อการทำงาน

การจัดทำงบประมาณ

 1. การจัดทำงบประมาณ
  • งบประมาณรายได้
  • งบประมาณค่าใช้จ่าย
  • งบประมาณโครงการ
  • งบประมาณการลงทุน
2. การจัดทำแผนการเงิน และขออนุมัติงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณของนิติบุคคลฯ ซึ่งประกอบด้วย
  • งบประมาณรายได้ เป็นการประมาณการรายได้ต่างๆ ที่คาดว่าจะได้รับในปีหน้า เช่น เงินค่าส่วนกลางที่รับจากสมาชิกนิติบุคคลฯ เงินรับจากกิจกรรมต่างๆ รายได้จากการขายสติ๊กเกอร์รถยนต์ และรายได้อื่นๆ เป็นต้น
  • งบประมาณค่าใช้จ่าย เป็นการประมาณการรายจ่ายที่คาดว่าจะจ่ายในปีหน้า เช่นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายโครงการต่างๆ เป็นต้น
  • งบประมาณโครงการ เป็นการจัดทำงบประมาณในรูปโครงการต่างๆ เช่น โครงการจัดกิจกรรมต่างๆของนิติบุคคลฯ จะเห็นว่าบางโครงการอาจมีรายได้ การที่ทำในรูปโครงการมีข้อดีที่ทำให้เราทราบรายได้ และค่าใช้จ่ายแต่ละโครงการรวมทั้งหากมีการประเมินผลก็จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ในปีต่อๆไป ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่    
  • งบประมาณการลงทุน เป็นงบประมาณที่ทางนิติบุคคลฯ วางแผนที่จะลงทุนในปีหน้า เช่นการสร้างอาคาร และการซื้อครุภัณฑ์ เป็นต้น
  • งบประมาณการเงิน หรือการจัดทำแผนการเงิน เมื่อทางนิติบุคคลฯ ได้จัดทำงบประมาณรายได้ งบประมาณค่าใช้จ่าย งบประมาณโครงการ งบประมาณการลงทุน แล้วก็จะมาทำแผนการใช้จ่ายเงิน เรียกว่า งบประมาณการเงิน เสร็จแล้วก็จะส่งข้อมูลให้ผู้รับผิชอบด้านบัญชีเพื่อบันทึกตั้งงบประมาณ ในระบบบัญชี
 1322
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
การจะเข้าสู่วงจรธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ประเด็นแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ คือจะทำธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์