เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง

เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง



เปลี่ยนสำนักงานบัญชี
 
เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้

1. ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืน

โดยปกติผู้ประกอบการจะส่งเอกสารบิลซื้อและขายตัวจริงให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อไปดำเนินการบันทึกบัญชี ดังนั้นเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีตัวจริงทั้งหมดเราจะต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีกลับมาให้หมด ซึ่งกฏหมายกำหนดเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5ปี ได้แก่

  • บิลซื้อ บิลขาย (เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี)
  • แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30 ภ.ง.ด. 50, 51)
  • แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

หมายเหตุ: สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่ จะทำใบสำคัญการลงบัญชี
พร้อมแนบเอกสาร จัดเป็นแฟ้มและส่งคืนลูกค้าทุกปีอยู่แล้ว

2.ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี

ข้อมูลการบันทึกบัญชีที่สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้เรา ได้แก่

  • งบทดลอง (TB)
  • สมุดรายวันแยกประเภท (GL)
  • สมุดรายวันเฉพาะ (สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน)
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนลูกหนี้ ทะเบียนเจ้าหนี้
  • และรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือฝั่งสินทรัพย์และหนี้สิน

โดยปกติเมื่อเราเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เราจะต้องให้เวลาสำนักงานบัญชีเก่าในการปิดบัญชีเพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับสำนักงานบัญชีใหม่ การปิดบัญชีอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือนในการส่งต่อข้อมูลไปให้กับสำนักงานบัญชีใหม่

3. ขอรหัสผ่านต่างๆ

  • รหัสผ่าน DBD e-Filing
  • รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
  • รหัสผ่านทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตประกันสังคม

ช่วงที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี คือ ตอนเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : onesiri-acc.com

 2909
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายในงบการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพร้อมออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายด้วย เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร 
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์