หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่

หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน



ตัวอย่างรายการที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

1. การรับรู้รายได้
2. เจ้าหนี้การเค้า
3. ลูกหนี้การค้า
4. การตีมูลค่าสินค้าคงเหลือ
5. การตัดค่าเสื่อมราคา

ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
1. ใช้ดูจำนวนลูกหนี้การค้า หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องดูเพราะว่ามีลูกหนี้การค้ามากก็แสดงว่ากิจการขายสินค้าและบริการได้ดี แต่ก็ไม่เสมอไปลูกหนี้การค้าหากมีมากจนผิดสังเกตุอาจะเกิดจากกิจการมีลูกหนี้การค้าที่ขาย สภาพคล่องทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้เกิดผลเสียต่อกิจการ ดังนั้นผู้ใช้งบการเงินควรสังเกตตรงจุดนี้ให้ดีว่า ลูกหนี้การค้าเป็นอย่างไร ขายสินค้าอะไร มีความสามารถในการจ่ายหนี้หรือไม่
2. ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
3. เมื่อผู้ใช้งบการเงินเปรียบเทียบอัตราการทำกำไรกับกิจการคู่แข่งแล้วพบว่า กิจการสามารถทำอัตรากำไรได้มากว่าหรือแตกต่างมากๆ อาจจะมีผลมาจากทั้งสองกิจการมีนโยบายการทำบัญชีที่แตกต่างกัน
4. เมื่อพบว่ากิจการมีรายได้โตขึ้นมากๆ ผู้ใช้งบการเงินต้องตรวจดูว่ากิจการมีนโยบายการรับรู้รายได้แบบใด
5. รายการอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน
 1056
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้
รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้
ภ.พ. 20 เป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย โดยผู้เสียภาษีที่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีประกอบด้วยบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย
“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์