ความแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษี

ความแตกต่างระหว่างกำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษี


ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง

ความแตกต่างของกำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษีอาจเกิดขึ้นจากความแตกต่างของจำนวนค่าใช้จ่ายหรือความแตกต่างของรายได้ที่รับรู้ในแต่ละงวด ในด้านค่าใช้จ่าย ในบางกรณีรายการบางรายการถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี แต่ทางภาษีไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารับรองส่วนที่เกินกฎหมายกำหนด หรือบางกรณีทางบัญชีถือเป็นค่าใช้จ่ายมากกว่าหรือน้อยกว่าทางภาษี เช่น ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ส่วนในด้านรายได้บางกรณีทางบัญชีอาจถือเป็นรายได้ทั้งจำนวน แต่ในทางภาษีไม่ถือเป็นรายได้ เช่น กรณีรายได้เงินปันผล เป็นต้นจากความแตกต่างของรายได้ทางบัญชีกับทางภาษี และความแตกต่างของค่าใช้จ่ายทางบัญชีกับทางภาษี จึงส่งผลให้กำไรทางบัญชีแตกต่างจากกำไรทางภาษี ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวมีมากมายหลายประเด็น เช่น

  1. ค่ารับรอง เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายประเภทค่ารับรองขึ้น ตามหลักการบัญชีจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนแต่ตามกฎหมายภาษีอากรกำหนดให้จำนวนค่ารับรองที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของยอดขายหรือทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า

ตัวอย่าง เช่น บริษัท YK จำกัดมียอดขาย 10 ล้านบาท และได้มีค่ารับรองเป็น 350,000 บาท

ค่ารับรองที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ภาษีอากร 10,000,000×3% =  300,000 บาท

ค่ารับรองที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี =  350,000 บาท

ผลต่าง =  50,000 บาท

ซึ่งผลต่าง 50,000 บาทจำนวนนี้ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีอีกไม่ว่าในปีใดๆ ดังนั้น ในปีภาษีนี้ บริษัท YK จำกัดจึงมีกำไรทางบัญชี น้อยกว่ากำไรทางภาษี 50,000 บาท

  1. ค่าใช้จ่ายหนี้สูญ ตามหลักการบัญชีจะประมาณการหนี้สงสัยจะสูญขึ้นและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนั้นๆ แต่ตามหลักเกณฑ์ทางภาษี รายหนี้สูญที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายของงวดนั้นได้จะต้องมีการติดตามทวงถามลูกหนี้จนถึงที่สุดตามแนวทางที่กฎหมายภาษีอากรกำหนด ดังนั้นจำนวนที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี ซึ่งอาจไม่อยู่ในงวดเดียวกันกับจำนวนที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี

ตัวอย่าง ในปี 2561 บริษัท YK จำกัดได้ประมาณหนี้สงสัยจะสูญและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 60,000 บาท แต่ทางเกณฑ์ภาษีอากรยังไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายและในปี 2562 กิจการก็ยังติดตามทวงถามไม่ได้และเข้าเงื่อนไขต่างๆ ที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้นจำนวนเงินที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายสรุปได้ดังนี้

ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีในปี 2561  =  60,000  บาท

ถือเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีในปี 2561 = 0  บาท

ผลต่าง  = 60,000  บาท

ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ปี 2562 = 60,000  บาท

ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี 2561 กำไรทางบัญชีในปี 2561จะน้อยกว่ากำไรทางภาษีอยู่ 60,000 บาท แต่ในปี 2562 กำไรทางภาษีจะน้อยกว่ากำไรทางบัญชีอยู่ 60,000 บาท ผลต่างของกำไรในปี 2561 ซึ่งถือเป็นผลต่างที่สามารถชดเชยในปี 2562

  1. ค่าเสื่อมราคา ทางบัญชีจะประมาณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์โดยคำนึงถึงความสมเหตุสมผลของประโยชน์การใช้งานของสินทรัพย์ แต่ทางภาษีกฎหมายได้กำหนดหักค่าสึกหลอและค่าเสื่อมราคาไว้ไม่เกินร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของสินทรัพย์ เช่น

ตัวอย่าง             ประเภทสินทรัพย์                  ร้อยละ

อาคารถาวร                                                       5

อาคารชั่วคราว                                                  100

เครื่องจักร และอุปกรณ์                                     20

บริษัท YK จำกัด ประมาณอายุการใช้งานของเครื่องจักรประเภทเครนสำหรับยกสินค้า โดยเครนมีราคาทุน 160,000 บาท และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาบริษัททราบว่าเครนจะมีอายุการใช้งาน 8 ปี บริษัทบันทึกค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ทั้งนี้จำนวนค่าเสื่อมราคาที่กฎหมายให้หักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องจักรคือร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน การคำนวณค่าเสื่อมราคาของปี จะแสดงได้ดังนี้

ค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี 160,000/8   =  20,000 บาท

ค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ภาษี 160,000*20%  =  32,000 บาท

ผลต่าง                                                                                        =  12,000  บาท

เนื่องจากค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีน้อยกว่าตามเกณฑ์ภาษี ดังนั้นกำไรทางบัญชีจึงมากกว่ากำไรทางภาษีอยู่ 12,000 บาท

  1. การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศตามคำสั่งสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนในเครือเดียวกัน ตามหลักการบัญชีนั้น การที่สาขาส่งสินค้าไปให้สำนักงานใหญ่ไม่ถือว่าเป็นการขายสินค้าและไม่ถือว่าเป็นรายได้
  2. รายได้เงินปันผล การที่กิจการมีเงินลงทุน เมื่อได้รับเงินปันผล จะนำเงินปันผลที่ได้มาบันทึกเป็นรายได้ทั้งจำนวน แต่ในทางภาษีอากรอาจไม่ต้องนำมาเป็นรายได้ทั้งจำนวน
  3. ผลขาดทุนสุทธิ ในกรณีที่กิจการประสบภาวะขาดทุนในปีที่ผ่านๆมา ตามหลักการบัญชี กิจการไม่สามารถนำผลขาดทุนสุทธิมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในงวดใดๆได้ แต่ตามเกณฑ์ภาษี กิจการสามารถนำผลขาดทุนสุทธิ ซึ่งคำนวณตามกฎหมายภาษีอากรมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

สรุป  ความแตกต่างของกำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษี มีดังนี้

  1. ค่ารับรอง
  2. ค่าใช้จ่ายหนี้สูญ
  3. ค่าเสื่อมราคา
  4. การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศตามคำสั่งสำนักงานใหญ่
  5. รายได้เงินปันผล



ที่มา : Link
 535
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในวงการวิชาชีพบัญชี ประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนแปลง เนื่องจากด้านเทคโนโลยีในวงการวิชาชีพบัญชียังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นับวันยิ่งเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดอย่างใน ปี 2020 แนวโน้มจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นักบัญชีจะต้องเตรียมความพร้อมและรับมืออย่างไร
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์