หนี้สิน

หนี้สิน


หนี้สิน

( ภาษาอังกฤษ There are many types )
บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น

จากความหมายที่ได้กล่าวมาในตอนต้น
หนี้สินจึงเป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จากสัญญาข้อบังคับกฏหมาย การดำเนินการตามปกติของกิจการ ประเพณีการค้าหรือจากความต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์เชิงรุกกับลูกค้า โดยต้องชดใช้ด้วยการจ่ายเงินสด การโอนสินทรัพย์อื่นๆ หรือการให้บริการ ซึ่งจะมีผลทำให้สินทรัพย์หรือส่วนของเจ้าของลดลง ประเภทของหนี้สิน

ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่องแม่บทการบัญชี ของสมาคมนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้คำนิยามของหนี้สิน ว่า ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

หนี้สินมีกี่ประภทอะไรบ้าง

ประเภทหนี้สิน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1. หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืน ภายใน 1ปี หรือภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนหรือด้วยการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นแทน
2. หนี้สินโดยประมาณ คือ หนี้สินซึ่งไม่ทราบจำนวนแน่นอนและได้ประมาณขึ้น
3. หนี้สินระยะยาว คือ หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนมากกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
4. หนี้สินอันอาจเกิดขึ้น คือ รายการที่อาจจะเป็นพันธะผูกพันในอนาคต
5. หนี้สินอื่น คือ หนี้สินซึ่งไม่อาจจัดเข้าในหนี้สินประเภทใดๆ ได้

หนี้สิน คือ ( Liabilities )

หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันของกิจการอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืม หรืออื่นๆ ซึ่งกิจการต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์หรือบริการ


ที่มา : Link

 811
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการทำงานในธุรกิจเป็นอย่างมาก และยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมาก งานบัญชีถือเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมของธุรกิจ ชี้วัดสุขภาพทางการเงินขององค์กร ว่ามีกำไรขาดทุนมากน้อยเพียงใด ในยุคที่การตัดสินใจของลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำบัญชีบนกระดาษที่ใช้เอกสารจำนวนมากอาจทำให้ไม่ทันความต้องการ การมีเครื่องมือในการทำบัญชีเป็นตัวช่วยให้งานบัญชี รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมาก
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์