sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทนิติบุคคล
ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทนิติบุคคล
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทนิติบุคคล
ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทนิติบุคคล
ย้อนกลับ
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ มีหน้าที่ที่จะต้องทำการเสียภาษีเช่นเดียวกันกับบริษัทส่วนบุคคลทั่วๆไป แต่ จะมีข้อได้เปรียบตรงที่เนื่องจากเป็นองค์กรที่ดำเนินการในเรื่องการทำธุรกิจ อย่างเต็มตัวจึงมีอัตราการเสียภาษีสูงสุดแค่ 30% และจะน้อยกว่านั้นถ้าทุนของการจดทะเบียนไม่ถึง 5 ล้านบาท
อีกทั้งสามารถหักค่าลดหย่อนและมีความยืดหยุ่นได้มากกว่าบริษัทส่วนบุคคลธรรมดาทั่วไปหลายเท่าตัวนัก แต่จะมีข้อเสียตรงที่กฎหมายได้ทำการระบุไว้ให้ต้องมีการจัดทำบัญชีเพื่อใช้ ในการตรวจสอบอย่างละเอียดด้วย ซึ่งในส่วนของรายละเอียดจะมีค่อนข้างมากและลึกกว่าโดยทั่วไป ซึ่งจะขอกล่าวคร่าวๆถึงขั้นตอนการเสียภาษีของธุรกิจนิติบุคคลดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการขอจดทะเบียน
บริษัทนิติบุคคลจะมีขั้นตอนในส่วนของการจดทะเบียนที่จะต้องดำเนินการที่คล้ายคลึงกันกับบริษัทส่วนบุคคลธรรมดาทั่วไป คือ
ส่วนที่ 1
ต้องเริ่มไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลก่อน โดยสามารถไปขอจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือจะใช้วิธีการจดทะเบียนออนไลน์ก็ ได้เช่นเดียวกัน จากนั้นจึงไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจที่สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ไปดำเนินการจดทะเบียนได้ที่พาณิชย์จังหวัด
ส่วนที่ 2
การยื่นขอจดทะเบียนขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคล และจำเป็นต้องยื่นทำการจดทะเบียนในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการจดทะเบียนภาษีทั้ง 2 อย่างสามารถดำเนินการได้ที่กรมสรรพากร
2. การคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บริษัทนิติบุคคลจะมีวิธีการคำนวณที่ค่อนข้างจะ ละเอียดและซับซ้อนกว่าภาษีเงินได้ประเภทบริษัทส่วนบุคคล โดยวิธีการคำนวณเบื้องต้น คือ ทำการคำนวณหาในส่วนของรายรับและรายจ่ายตลอดทั้งปี(12 เดือน หรือ 6 เดือนในกรณีของบริษัทนิติบุคคลที่เพิ่งจะตั้งใหม่) ให้ออกมาเป็นผลกำไรประกอบการสุทธิ ซึ่งผลกำไรสุทธิที่ได้ออกมาจะต้องสามารถยื่นแสดงเป็นเอกสารในทางบัญชีถึงที่ มาที่ไปรายรับรายจ่ายได้ โดยมีวิธีการคิดอัตราภาษีดังนี้ บริษัทนิติบุคลที่มีทุนการจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีผลกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาทจะต้องทำการเสียภาษี 15% มีผลกำไรสุทธิอยู่ระหว่าง 1-3 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี 25% และถ้ามีกำไรที่มากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องเสียภาษีในอัตรา 30% เท่านั้น ส่วนบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท จะเสียภาษีจากผลกำไรของการประกอบการสุทธิอยู่ที่ 30% ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้วิธีการคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละ เดือนแล้วจึงนำมายื่นชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยข้อมูลวิธีการคิดคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบสามารถดูเพิ่มเติมได้จากทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการคิดคำนวณภาษีทั้ง 2 แบบของบริษัทนิติบุคคลควรจะให้ฝ่ายบัญชีเป็นผู้คิดคำนวณให้หรือถ้าเป็น บริษัทที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่ยังไม่มีฝ่ายบัญชีก็ต้องทำการจ้างบริษัทที่รับ ทำบัญชีโดยด่วน เพื่อจะได้เข้ามาช่วยในเรื่องการดูแลทางด้านการเงินทั้งในส่วนของรายรับราย จ่ายและเรื่องการเสียภาษีตั้งแต่เริ่มต้นของบริษัท ไม่ควรที่จะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเองเพราะเนื่องจากมีความซับซ้อนมากในราย ละเอียด อีกทั้งยังติดขัดในเรื่องของข้อกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทนิติบุคคลต้องมีนัก บัญชีที่จบมาทางด้านนี้โดยตรงตามวุฒิการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการด้วย
3. การยื่นภาษี
ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้บริษัทนิติบุคคลต้องทำการขอยื่นแบบภาษีปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกเรียกกันว่าการยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ(ครึ่งปี) ซึ่งจะต้องยื่นภายใน 60 วันนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบรยะเวลาบัญชี โดยใช้เอกสาร ภ.ง.ด.51 เท่านั้นในการยื่นเรื่อง ครั้งที่สองหรือที่เรียกว่าการยื่นภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้น รอบ(สิ้นปี) ต้องยื่นภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีในปีนั้น โดยแบบเอกสารที่ใช้ในการยื่นคือ ภ.ง.ด.50 ซึ่งในการยื่นทั้ง 2 ครั้งสามารถมาทำการยื่นด้วยตนเองหรือจะให้ตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท มาทำการยื่นแทนก็ได้ที่กรมสรรพากรถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถยื่นได้ที่ที่ว่าการอำเภอที่บริษัทตั้งอยู่ นอกจากนี้ในปัจจุบันทั้ง ภ.ง.ด.51 และ ภ.ง.ด.50 สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้แล้วที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
4. การชำระภาษี
สถานที่ที่ใช้ชำระเงินภาษีนิติบุคคลถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานครให้มาชำระ ได้ที่กรมสรรพากรหรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของประเทศไทย ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ไปชำระได้ที่สรรพากรที่ตั้งอยู่บนที่ว่าการ อำเภอ หรือธนาคารพาณิชย์ของไทยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับที่สำนักงานใหญ่ของทางบริษัทตั้งอยู่ หรือ
ยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์
เนื่องจากการจ่ายภาษีในส่วนของบริษัทนิติบุคคลเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นควรที่จะมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องบัญชีโดยเฉพาะและมีใบ อนุญาตอย่างถูกต้องเป็นผู้ดูแลให้ ส่วนผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจก็ควรรู้ไว้แค่ในส่วนของหลักการเบื้องต้นก็ น่าจะพอ
การมีนักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ในบริษัทเปรียบเสมือนการมีเพชรน้ำดี ไว้ในครอบครองเลยก็ว่าได้ เพราะความเชี่ยวชาญของนักบัญชีจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่สามารถพอจะยอมรับ ได้ทำการซิกแซกหาช่องทางช่วยให้บริษัทจ่ายภาษีที่น้อยลงมากกว่าเดิมจากอัตรา ปกติ ซึ่งควรต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าการซิกแซกนี้ไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่จ่ายค่า ภาษีให้ประเทศชาติเลย แต่เป็นการจ่ายที่น้อยลงจากปกติตามที่กฎหมายได้เปิดช่องเอาไว้ให้ไม่ได้เป็น การกระทำผิดกฎหมายแต่ประการใด และอย่าคิดที่จะไม่จ่ายภาษีเป็นอันขาดเพราะรับรองว่าสุดท้ายสรรพากรจะต้อง ตามตรวจเจอและจะมีบทลงโทษอย่างร้ายแรงตามมาในท้ายที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าเสียเลยที่ผู้ประกอบการจะต้องไปเสี่ยงอย่างแน่นอน
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
บทความโดย
: incquity.com
876
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ต่างกันอย่างไร
ภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ต่างกันอย่างไร
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
การคำนวณต้นทุนการผลิตแบบง่าย
การคำนวณต้นทุนการผลิตแบบง่าย
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
การเริ่มต้นจัดทำบัญชี ต้องทำอะไรบ้าง
การเริ่มต้นจัดทำบัญชี ต้องทำอะไรบ้าง
การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น จะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน และทำอะไรบ้าง เป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หรือแม้แต่กระทั่งนักบัญชีมือใหม่เอง
ทำไม Audit ถึงมีความสำคัญในธุรกิจทุกขนาด
ทำไม Audit ถึงมีความสำคัญในธุรกิจทุกขนาด
คำว่า audit คืออะไร ในบางมุมคนอาจแทนความหมายของ audit เป็นอาชีพ ซึ่งหมายถึงอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งอาชีพ audit นั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภท หรือในบางมุมหากมองว่า audit คือการกระทำ คำว่า audit จะมีความหมายว่า การตรวจสอบซึ่งก็สามารถแบ่งได้ออกเป็นอีกหลายประเภทเช่น
หลัก 3 ข้อ เพื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ร้านค้า
หลัก 3 ข้อ เพื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ร้านค้า
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com