นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?

นักบัญชีช่วยวิเคราะห์สินค้าได้อย่างไรบ้าง?


สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง

เรื่องของการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ หมายถึง ความอยู่รอดและความเป็นความตายสำหรับหลายๆ ธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป และธุรกิจผลิต ที่จะต้องสต๊อกสินค้าไว้ล่วงหน้าก่อนจะขายต่อให้กับลูกค้า

เพื่อลดปัญหาอันน่าปวดหัวจากสินค้าคงเหลือ วันนี้เราพาทุกคนมาทำความเข้าใจอัตราส่วนทางการเงินกับสินค้าคงเหลือกัน เริ่มต้นจากรู้จักแหล่งที่มาของข้อมูลก่อน การวิเคราะห์อัตราส่วนสินค้าคงเหลือนั้น จะมีข้อมูลจาก 2 แหล่ง

1.สินค้าคงเหลือ ในงบแสดงฐานะการเงิน
2.ต้นทุนขาย ในงบกำไรขาดทุน

แน่นอนว่าสินค้าคงเหลือเป็นตัวสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับต้นทุนขาย เวลาเราซื้อสินค้ามาหรือผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ก็บันทึกเป็นสินค้าคงเหลือ พอเราขายเราก็ตัดออกมาเป็นต้นทุนขายตามจำนวนสินค้าที่ขายได้ ดังนั้น ยอดสินค้าคงเหลือก็ย่อมมีความเกี่ยวโยงกับต้นทุนขายอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว ถัดมาเรามาทำความเข้าใจ 2 อัตราส่วนทางการเงินที่ช่วยวิเคราะห์สินค้าคงเหลือกัน

1. อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover) 
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ หมายถึง จำนวนรอบ (Turnover) ที่สินค้าคงเหลือทำได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่สินค้าคงเหลือเข้ามาในกิจการและถูกจำหน่ายออกไป ถ้ากิจการไหน มีรอบการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือมากใน 1 ปี ยิ่งแปลว่า สินค้าหมุนเวียนได้ดี

สูตรที่ใช้คำนวณมีตามนี้       

อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)  =  ต้นทุนขาย / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
ตัวอย่างเช่น บริษัท AAA มีสินค้าคงเหลือเฉลี่ยปี 2563 และ 2564 = 27,000 บาท และมีต้นทุนขายเฉลี่ย = 363,000 บาท  

อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)  = 363,000 / 27,000  = 13.44 รอบ

อัตราหมุนเวียนของสินค้าจำนวน 13.44 รอบนั้น แปลว่า ใน 1 ปี บริษัท AAA ซื้อสินค้ามาแล้วขายออกไปได้ทั้งหมด 13.44 รอบ นั่นเอง

ถ้าสมมติปีก่อนมีรอบการหมุนเวียนจำนวน 10 รอบ แปลว่า ปี 2564 บริษัท AAA ทำผลงานได้ดีขึ้น

2. ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory) 
ระยะเวลาในการถือครองสินค้าคงเหลือ หมายถึง จำนวนวันที่เราถือสินค้าไว้กับมือโดยเฉลี่ย ตั้งแต่เริ่มซื้อวัตถุดิบเข้ามาจนกระทั่งขายของออกไป ว่าเราถือสินค้าเหล่านี้ไว้จำนวนทั้งหมดกี่วัน

ถ้ากิจการไหน มีจำนวนการถือครองสินค้าคงเหลือน้อย ๆ แปลว่า ดี เพราะนั่นหมายความว่าสินค้าในสต๊อกหมุนเวียนขายออกไปได้เร็วนั่นเอง

สูตรที่ใช้คำนวณมีตามนี้

ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory)   = 365 Day / อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ

ตัวอย่างเช่น จากข้อมูลเดิมของ บริษัท AAA เราเอามาคำนวณจำนวนวันที่ถือครองสินค้าได้ตามนี้

ระยะเวลาการถือครองของสินค้าคงเหลือ (Day in Inventory)   = 365 / 13.44  = 27.16 วัน

ระยะเวลาการถือครองสินค้าคงเหลือ 27.16 วัน หมายถึง โดยเฉลี่ยบริษัท AAA ต้องถือสินค้าไว้จำนวน 27.16 วันกว่าที่จะขายสินค้าได้ ถ้าสมมติในอดีตถือสินค้าไว้ 36 วัน ปัจจุบันจำนวนวันน้อยลงแปลว่า บริษัท AAA บริหารสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


Source (ต้นฉบับจาก): https://www.thaicpdathome.com/article/how-to-analyze-inventories
Copyright by ThaiCpdatHome.com
 1034
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์