sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรดี
เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรดี
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรดี
เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรดี
ย้อนกลับ
สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหา
โปรแกรมบัญชี
ที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจพอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิดความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือจนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชีมีดังนี้
1.
งบประมาณ
ก่อนที่จะเริ่มต้นเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านต้องจัดสรรงบประมาณไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายฮาร์ดแวร์ (
Hardware
)
Server & Client ,
ค่าใช้จ่ายซื้อลิขสิทธิ์ฐานข้อมูล
SQL,
โปรแกรมที่ใช้เขียนรายงาน ฯลฯ
2.
พิจารณา
คุณสมบัติของโปรแกรมบัญชี
สามารถรองรับกระบวนการทำงาน (
Business Process
) ของธุรกิจได้มากกว่า
70-80%
โปรแกรมบัญชีในตลาดนั้นมีหลากหลายแตกต่างกันไปทั้งลักษณะการใช้งานและราคา การที่จะเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีท่านจะต้องสำรวจความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน (
User
) และผู้บริหาร (
Management Team
) โดยเรียงลำดับความสำคัญของงานที่ต้องการ ท่านควรพิจารณาว่าโปรแกรมบัญชีมีความยืดหยุ่นต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด
?
ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์ เช่น การเขียนรายงานต่างๆ
หลุมดำของโปรแกรมบัญชี (
Bug)
เป็นธรรมดาที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อาจจะมีหลุมดำหรือ
Bug
ซึ่งจะก่อให้เกิดการหยุดชะงักในการประมวลผลหรือที่เรียกว่า
Error
เพื่อความปลอดภัย โปรดสอบถามผู้ขาย ว่าโปรแกรมนั้นมีผู้ใช้จำนวนกี่ราย
?
พัฒนาโปรแกรมมาแล้วกี่ปี
?
การเลือกโปรแกรมที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดจะปลอดภัยกว่า อีกทางหนึ่งคือเลือกโปรแกรมที่พัฒนาจากบริษัทที่มีชื่อเสียงหรือมีประสบการณ์ทางด้านบัญชี
อีกประการหนึ่งโปรแกรมบัญชีที่ดีจะต้องมีเครื่องมือจัดการฐานข้อมูล เช่น ไฟดับในระหว่างกำลังสั่งประมวลผลข้อมูล โปรแกรมบัญชีที่ดีควรมีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ (
Backup
) เพื่อช่วยกู้ข้อมูลกลับมาได้ทันที
3.
พิจารณาคุณสมบัติของผู้จำหน่ายโปรแกรม
(
Software House
) สิ่งที่สำคัญพอๆ กันกับการเลือกโปรแกรมก็คือคุณต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาผู้ที่จำหน่ายโปรแกรมบัญชี
เช่น
ทีมบริการหลังการขาย
ท่านจะต้องเลือกผู้ที่มีความรู้ในโปรแกรมนั้นเป็น
อย่างดี
และสามารถให้คำปรึกษาในการใช้งานได้จริง ท่านสามารถตรวจสอบได้ด้วยการสอบถามประสบการณ์จากผู้ที่ใช้โปรแกรมอย่างน้อย
3
ราย ขอรายชื่อลูกค้าอ้างอิงเพื่อสอบถามผู้ที่ใช้งานจริงว่ามีการใช้งานเป็นอย่างไร
?
มีความพอใจกับโปรแกรมนั้นหรือไม่
?
บริการหลังการขายของผู้ขายเป็นอย่างไร
?
และมีปัญหาใดที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือไม่
?
โปรแกรมบัญชี
ระบบบัญชี
721
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธียื่นเสียภาษีย้อนหลัง แบบง่ายๆทำได้ด้วยตัวเอง
วิธียื่นเสียภาษีย้อนหลัง แบบง่ายๆทำได้ด้วยตัวเอง
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
หัก ณ ทีจ่าย 8 อย่างที่ SME ต้องรู้!!
หัก ณ ทีจ่าย 8 อย่างที่ SME ต้องรู้!!
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
เงินฝากธนาคารมีกี่ประเภท
เงินฝากธนาคารมีกี่ประเภท
เงินฝากธนาคาร (Bank Commercial) 5 ประเภท มี กี่ แบบ อะไรบ้าง
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา
ประโยชน์ของการทำบัญชี
ประโยชน์ของการทำบัญชี
การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
วิธีจัดแฟ้มเอกสารทางบัญชี ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น 10 เท่า
วิธีจัดแฟ้มเอกสารทางบัญชี ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น 10 เท่า
แฟ้มเอกสารทางบัญชี คือ แฟ้มสำหรับเก็บเอกสารสำคัญเกี่ยวข้องกับงานบัญชี ซึ่งมีความจำเป็นต่อกิจการเป็นอย่างมาก นักบัญชีมักจะต้องข้องเกี่ยวกับเอกสารเหล่านี้อยู่เสมอ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com