วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง

วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง


นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ

1. ช่วยรายงาน

การวิเคราะห์งบการเงินช่วยรายงานผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ว่ามีความสามารถในการทำกำไรยังไงบ้าง ซึ่งอัตราส่วนที่ได้จากการวิเคราะห์งบจะใช้เปรียบเทียบกับคู่แข่งธุรกิจได้สบายๆ   ตัวอย่างอัตราส่วนที่นิยมใช้ เช่น
ความสามารถในการทำกำไร  อัตรากำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / ยอดขาย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี

2. ช่วยแจ้งเตือน

อัตราส่วนที่เราคำนวณจากการวิเคราะห์งบ ช่วยบ่งบอกสัญญาณอันตรายอย่างเช่นการขาดสภาพคล่องได้ก่อนที่จะเจ๊งโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
มีค่า > 1 เท่ากับ สภาพคล่องดี
มีค่า < 1 เท่ากับ ขาดสภาพคล่อง

และถ้าเป็นแบบนี้นักบัญชีต้องรีบแจ้งเจ้าของธุรกิจทันทีเลย

3. ช่วยพยากรณ์
การวิเคราะห์งบดีๆ เผลอๆ อาจช่วยพยากรณ์ธุรกิจหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร เช่น กำไรปีนี้ ลดลง จากปีที่แล้ว จาก 2 ล้านบาท เป็น 1 ล้านบาท เนื่องจากมีต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับยอดขายที่เท่าเดิม ปกติหากเรามข้อมูลย้อนหลังก็ควรเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ทุกปี เพื่อนำไปพยากรณ์ทิศทางและบริหาร ถ้าหากครึ่งปีแรก มีค่าใช้จ่ายใดสูงไป ก็สามารถรัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายนั้น ในครึ่งปีหลังได้ หรือ รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในปีนี้ ก็ต้องปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ เพื่อกระตุ้นยอดขายในปีหน้า หรืออาจจะกลับไปใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเดิมเหมือนในปีที่ทำรายได้ได้สูงๆ

4. ช่วยวางแผน

ช่วยวางแผนภาษี แนวโน้มที่จะเสียภาษี เช่น

  • มีกำไรขั้นต้นไหม Gross Profit = รายได้ – ต้นทุนขาย ถ้ากำไรขั้นต้นติดลบ ก็เป็นสัญญานว่าเราอาจถูกสรรพากรแพ่งเล็งแน่นอน
  • หรือนำกำไรสุทธิมาลองคูณกับอัตราภาษี เพื่อวางแผนการจ่ายชำระค่าภาษีอากรได้ วางแผนว่าต้องสำรองเงินเพื่อจ่ายภาษีเท่าไหร่ และนอกจากนี้ทั้งปีที่เหลืออยู่ เรายังสามารถวางแผนใช้จ่ายให้เข้าเงื่อนไขลดหย่อนเพิ่มเติมของกรมสรรพากรได้อีกด้วย เช่น ถ้าทำทำบุญ บริจาคหรือให้สิ่งของประจำปีอยู่แล้ว ก็แค่ไปเรียนรู้ต่อว่าจะทำอย่างไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แล้วทำให้จ่ายค่าภาษีประจำปีลดลง

เพื่อนๆ คงเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินที่จะส่งผลดีต่อตัวเราเองไปแล้วนะคะ ว่านักบัญชีอย่างเราถ้าเพิ่มการวิเคราะห์งบการเงินไปเป็นความสามารถติดตัว เราก็จะสามารถเป็นนักบัญชีที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารและลูกค้าค่ะ เพียงแค่ลองอัพสกิลเรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เพิ่มเติมเพียงเท่านี้ก็มีโอกาสเพิ่มค่าตัวได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : blog.cpdacademy.co


 546
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายในงบการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์