โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร

โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร


ERP
 ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

โปรแกรม ERP มีระบบอะไรบ้าง

ก่อนจะไปดุว่าโปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร เราไปดูกันก่อนว่าหลักๆ แล้วประกอบด้วยระบบอะไรบ้าง โดยโปรแกรม ERP (Enterprise Resource Planning) ประกอบด้วยระบบหลายๆ ระบบที่เชื่อมโยงกัน โดยแต่ละระบบ ERP ก็จะมีระบบหลักๆ ที่แตกต่างกันออกไป แต่ระบบหลักๆ ของโปรแกรม ERP นั้นมีอย่างน้อย 5 ระบบ ประกอบไปด้วย

1. ระบบบัญชีและการเงิน เป็นระบบที่จะช่วยให้ทราบได้ว่าธรุกิจกำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด ทำให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จัดการงานบัญชีให้อย่างครบวงจร ทั้งเรื่องของรายรับ-รายจ่ายต่างๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วย อีกทั้งยังช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถตรวจสอบและรายงานผลการเงินได้ตามต้องการ รวมถึงการตรวจสอบยอดเงินสด ลูกหนี้ และเจ้าหนี้
2. ระบบบริหารคลังสินค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการคลังสินค้า การสั่งซื้อ การรับสินค้าเข้าคลัง การเบิกสินค้า และการนับสต็อก
3. ระบบการผลิตและควบคุมคุณภาพ ในส่วนนี้ ERP จะช่วยให้สามารถวางแผนการผลิตและควบคุมคุณภาพของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจเช็คข้อมูลของสินค้าต่างๆ ภายในคลังสินค้า รวมถึงการจัดการในส่วนของการผลิต การวางแผนการผลิต การบริหารความเสี่ยง การควบคุมคุณภาพ และการส่งมอบสินค้า เป็นต้น
4. ระบบบริหารงานบุคคล นับว่าเป็นอีกหนึ่งระบบที่สำคัญในโปรแกรม ERP โดยจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับบุคลกรภายในองค์กร รวมถึงการจัดการข้อมูลพนักงาน การจัดการเงินเดือน การบริหารจัดการการลา และการบริหารเอกสาร เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรทั้งในด้านบุคคลและด้านองค์กร
5. ระบบการตลาดและขาย ช่วยให้กิจการสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า การติดตามผลการขาย การสร้างและติดตามการดำเนินการโปรโมชั่นและการตลาดอื่นๆ รวมถึงช่วยให้ทีมงานขายเอง สามารถติดต่อลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย ซึ่งส่วนสำคัญของงานบัญชีทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม ERP เช่น

1. บันทึกข้อมูลบัญชี : ERP ช่วยบันทึกข้อมูลการเงินและบัญชีได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ โดยระบบจะบันทึกข้อมูลการเงินอย่างละเอียด อาทิเช่น การรับ-จ่ายเงิน การส่งเอกสารใบกำกับภาษี เป็นต้น
2. การจัดการภาษี : ERP ช่วยในการจัดการภาษี โดยระบบจะช่วยบันทึกข้อมูลภาษีอย่างถูกต้อง รวมถึงการคำนวณภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3. การจัดการบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้ : ERP ช่วยในการจัดการบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยระบบจะช่วยบันทึกข้อมูลการรับ-จ่ายเงินของลูกหนี้และเจ้าหนี้ และช่วยในการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือของลูกหนี้และเจ้าหนี้


สรุป

การใช้โปรแกรม ERP ช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความถูกต้อง แม่นยำ มากขึ้น โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถรายงานผลกำไรขาดทุน และการเงินรายได้-รายจ่ายได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถควบคุมงบประมาณ รวมถึงการวางแผนการเงิน และการจัดการข้อมูลลูกค้าและธุรกรรมขายได้อย่างมีประสิทธิผลด้วย

นอกจากนี้ โปรแกรม ERP ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลการเงินและบัญชีได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งสรุปผลกำไรขาดทุนของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และให้ข้อมูลสรุปการเงินและบัญชีในรูปแบบของรายงานที่ชัดเจน ดังนั้น การใช้โปรแกรม ERP จึงช่วยให้การบัญชีทางการเงินของธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่าการใช้โปรแกรม ERP ล้วนแล้วแต่จะส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร ทั้งในด้านการจัดการและการปรับปรุงด้านต่างๆ ให้องค์สามารถทำงานอย่างเป็นระบบและใช้ทรัพยากรขององค์กรได้อย่างคุ้มค่าแล้ว โปรแกรม ERP ยังถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้องค์กรเติบโตและสร้างผลกำไรอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน



ที่มา :
quickerpthailand.com

 690
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.พ. 20 เป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย โดยผู้เสียภาษีที่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีประกอบด้วยบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย
ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี  หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร  ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง  เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ  หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์