หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญปี 64

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญปี 64


ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดขึ้นใหม่ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นลูกหนี้จากเดิม 6 ชั้น ปรับเป็น 3 ชั้น ได้แก่

       1. ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Performing)

       2. มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Under-Performing)

       3. มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Non-Performing)

สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปและของสถาบันการเงิน มีสาระสำคัญดังนี้

       1. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมเกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็นเกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามทวงอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีแพ่งที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง เป็นต้น

       2. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมไม่เกิน 500,000 บาท เป็นไม่เกิน 2,000,000 บาท และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควร โดยมีหลักฐานการติดตามอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลมีคำสั่งรับฟ้องแล้ว เป็นต้น

       3. กำหนดวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้รายย่อยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท

       4. กำหนดให้การจำหน่ายหนี้สูญที่มีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 1 หรือ 2 ข้างต้น ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานการติดตามทวงถามตามสมควรแล้ว แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ

       5. กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันสำรองครบ ร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

       6.กำหนดให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยให้เจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งรวมถึงลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


 แหล่งที่มา : www.infoquest.co.th

 525
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล
ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
ภ.พ. 20 เป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย โดยผู้เสียภาษีที่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีประกอบด้วยบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย
โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์