อยากเปิด สำนักงานบัญชี มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

อยากเปิด สำนักงานบัญชี มีองค์ประกอบอะไรบ้าง


สำนักงานบัญชี
เป็นคำที่คุ้นหู และเคยได้ยินควบคู่กับการทำประกอบธุรกิจมานาน และนักบัญชีที่จบบัญชีบางส่วนก็อยากจะเปิดสำนักงานบัญชี เพราะการเปิดสำนักงานบัญชีไม่ใช้เรื่องยาก แต่ก็ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้ามองจากผู้ที่ผ่านประสบการณ์ต่างๆ

ในการทำงานเกี่ยวกับบัญชี ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน รับผิดชอบงานส่วนไหน หรือ ด้านไหนของธุรกิจ แล้วพบเจอปัญหาที่ยาก เกินความสามารถ หรือ รับผิดชอบไม่ไหว กับผลกระทบจากการทำงานผิดพลาดต่างๆ ทำให้มุมมองในการเปิดสำนักงานบัญชีเป็นเรื่องที่ยากในความคิดของคนนั้น

แต่ ถ้าเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน แล้วผ่านการทำงานด้วยประสบการณ์ที่ดี แก้ไขปัญหาที่พบเจอได้ไม่ยาก และ รับผิดชอบกับงานที่เกิดความผิดพลาดไหว ก็อาจทำให้ความคิดในการเปิดสำนักงานบัญชีเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนนั้น แต่ไม่ก็ง่ายเลยซะทีเดียว ที่การเปิดสำนักงานบัญชีนั้นจะประสบความสำเร็จได้มีองค์ประกอบหลายอย่าง จะยกตัวอย่างหลักๆ ให้เห็นได้ชัด ว่าการเปิดสำนักงานบัญชีได้ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น

1.ผู้ที่จะเปิดสำนักงานบัญชี จะต้องมีผู้ทำบัญชีที่จบบัญชีตามที่กฎหมายรับรอง และสามารถขึ้นชื่อเป็นผู้ทำบัญชีได้
2.สำนักงานบัญชีต้องมีความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นงานบริการ ไม่สามรถจับต้องได้ ทำให้การเริ่มต้นในการหาลูกค้านั้นทำได้ยาก ทำให้ต้องมีทักษะในการสื่อสาร หรือ สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า
3.เมื่อทำบัญชีเสร็จตามรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องมีผู้สอบ ที่สามารถเซ็นรับรองงบการเงินได้ เพราะผู้ที่ลงชื่อทำบัญชี ไม่สามารถเซ็นรับรองงบการเงินเองได้
หลักๆ ที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเปิดสำนักงานบัญชีปัญหาที่จะต้องพบเจอยังมีอีกมากมาย แต่ไม่ยากเจอความสามารถของผู้ที่มีความ ขยัน ตั้งใจ และ อดทน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนักบัญชีที่จะต้องมี

สุดท้าย สิ่งที่สำคัญและเป็นหัวใจหลักของการเปิดสำนักงานบัญชี ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือ จะต้องมีจรรยาบรรณของนักบัญชี อีกด้วย

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี!


ที่มา : www.สํานักงานบัญชี.com
 9521
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน
แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ
TAX กับ VAT เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในโลกออนไลน์กันอย่างต่อเนื่องว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และถือเป็นการเสียภาษีให้กับภาครัฐเหมือนกันหรือไม่? 
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์