ยื่น บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นเมื่อไหร่

ยื่น บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นเมื่อไหร่


ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน

1. บอจ.5 คืออะไร

บอจ.5 หรือ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น คือ แบบแสดงรายละเอียดของผู้ถือหุ้น บอกถึง ใครถือหุ้นบ้าง แต่ละคนมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของอยู่เท่าไหร่ มีรายละเอียดสำคัญอยู่ 6 ข้อ ดังนี้

  • ชื่อ เลขทะเบียน ของบริษัท
  • วันที่ลงรายชื่อผู้ถือหุ้นในทะเบียน เช่น ข้อมูล ณ วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท หรือ ณ วันที่คัดจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
  • มูลค่าทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น และมูลค่าราคาพาร์ของหุ้น
  • จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
  • รายละเอียดของผู้ถือหุ้นแต่ละคน ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน สัญชาติ อาชีพ ที่อยู่ จำนวนหุ้นที่ถือและชำระแล้ว เลขหมายหุ้น วันที่ลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้น เป็นต้น
  • วันที่นำส่งข้อมูล

2. นิติบุคคลไหนต้องยื่น บอจ.5 บ้าง

บอจ. 5 นั้นไม่ได้มีไว้ใช้สำหรับธุรกิจทุกประเภทนะคะ ถ้าเราเป็นแบบบุคคลธรรมดา หรือเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็จะไม่มีข้อมูล บอจ.5 ค่ะ


สรุปคือ บอจ.5 จะใช้แค่กับ “บริษัทจำกัด” เท่านั้นค่ะ และกฏหมายได้ระบุให้ “บริษัทจำกัด” ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นด้วย

3. บอจ. 5 ต้องยื่นเมื่อไร

สำหรับกิจการที่ปิดรอบบัญชี 31 ธันวาคมของทุกปี

“บริษัทจำกัด” ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 30 เมษายน) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่

สมมติประชุมใหญ่วันสุดท้าย เมื่อ 30 เมษายน ก็จะต้องยื่น บอจ. 5 ภายในวันที่ 14 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้ายนั่นเอง

ถ้าปิดรอบบัญชีอื่นๆ

กิจการที่ปิดรอบบัญชีอื่นๆ สมมติเป็นวันที 30 มิถุนายน ของทุกปี

นำส่งงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 31 ตุลาคม) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่

แต่ถ้ายื่นไม่ทันอาจโดนเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท ต่อกรรมการ 1 คนเลยนะคะ


ขอบคุณที่มา : blog.cpdacademy.co

 1687
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์