ลูกหนี้การค้า

ลูกหนี้การค้า


ลูกหนี้การค้า 
ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี

ลูกหนี้การค้า หมายถึง
ลูกหนี้การค้า ภาษาอังกฤษ คือ Receivable หมายถึง สิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งของ เจ้าหนี้การค้า ในการที่จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสดหรือทรัพย์สินอย่างอื่น โดยคาดหมายความว่า จะได้รับชำระเต็มจำนวน เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้จัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของกิจการและควรแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับนั่นก็คือ จำนวนที่คาดหมายว่าจะเก็บได้

โดยสรุปแล้วคำว่า ลูกหนี้การค้า ก็คือลูกหนี้จากการทำธุรกิจของกิจการ เพราะลูกหนี้การค้าคือช่องทางการรั่วไหลของเงินที่ดีมากในงบการเงิน เรียกว่าถ้าโกงกันเมื่อไหร่ เขาจะชอบโกงกันที่นี่เป็นหลักกันเลย  ลูกหนี้การค้าจึงมีความสำคัญในการวิเคราะห์งบการเงินนั่นเอง

โดยปกติแล้วลูกหนี้การค้าจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า และ ลูกหนี้อื่น หากสงสัยว่าลูกหนี้การค้า หมายถึงอะไร แนะนำให้อ่านเลย รับรองว่าได้คำตอบแน่นอนว่าลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น คืออะไร

1. ลูกหนี้การค้า ( Trade Receivable )
คือ ลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ และจะมีชื่อบัญชีแตกต่างกันได้ตามประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ หมายถึงบัญชีระหว่างธนาคารที่มีดอกเบี้ย เงินให้สินเชื่อ และดอกเบี้ยค้างรับกิจการประกันภัย หมายถึงบัญชีเบี้ยประกันภัยค้างรับ เงินค้างรับเกี่ยวกับการประกันต่อและเงินให้กู้ยืม

2. ลูกหนี้อื่น ๆ ( Other Receivable )
คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ ลูกหนี้ที่เกิดจากรายการค้าประเภทอื่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปนอกเหนือจากการขายสินค้าหรือบริการ เช่น

– เงินกู้ให้ยืม เช่น เงินให้กู้ยืมแก่พนักงานและลูกจ้าง เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม

– เงินมัดจำ เช่น เงินมัดจำที่จ่ายให้ผู้ขายเพื่อรับประกันการจ่ายเงิน เงินมัดจำความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

– รายได้ค้างรับ เช่น เงินปันผลค้างรับ ดอกเบี้ยค้างรับ

– สิทธิเรียกร้อง เช่น สิทธิเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยให้ชดใช้ค่าสินไหมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สิทธิเรียกร้องต่อรัฐบาลสำหรับการรับเงินภาษีคืน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.moneywecan.com

 1949
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด มีข้อแตกต่างกันดังนี้
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี 
นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่า และเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์