ควรทำอย่างไร? หากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณผิด

ควรทำอย่างไร? หากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณผิด


การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร

จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีเศษเป็นจุดทศนิยม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติดังนี้

       1. ทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดเศษทิ้ง

             เช่น มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 100 บาท

             คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7/107 x 100 = 6.542 บาท

       ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม = 6.54 บาท

       2. ทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปให้ปัดเศษขึ้น

             เช่น มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 180 บาท

              คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7/107 x 180 = 11.775 บาท

       ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม = 11.78 บาท

กรณีได้รับใบกำกับภาษีโดยภาษีมูลค่าเพิ่มผิดเนื่องจากจุดทศนิยม ให้ปฏิบัติดังนี้

1. ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี > ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

       วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

2. ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี < ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

       วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี

3. กรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่ภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องเนื่องจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม

       วิธีปฏิบัติ: ต้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษีดำเนินการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะนำไปเป็นภาษีซื้อได้

แหล่งที่มา : Link

 3270
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
( ภาษาอังกฤษ There are many types )บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์