การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน

การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน



    ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มธุรกิจใหม่ มักกังวลถึงความเสี่ยงของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่และมีกำไรเพียงพอที่จะเสี่ยงลาออกมาจากงานประจำหรือไม่ รวมทั้งอยากทราบว่าจะขายจำนวนเท่าใดถึงจะคุ้มทุนในแต่ละเดือน เรื่องการหาจุดคุ้มทุนช่วยในการคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มธุรกิจแล้วควรจะขายเดือนละเท่าใดถึงไม่ขาดทุน การคำนวณหาจุดคุ้มทุนเป็นเรื่องไม่ยากเลยเพราะในแง่ของวิชาบัญชีและการเงินมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณเพื่อวางแผนการขายให้ได้เท่าทุน มาเข้าใจเรื่องของจุดคุ้มทุน (Break-even point) ก่อนว่าคืออะไร จุดคุ้มทุนก็คือจุดที่ผู้ขายสินค้าขายได้ในปริมาณที่ทำให้ธุรกิจไม่ขาดทุนและไม่กำไร ก็คือเท่าทุนนั่นเอง ความจำเป็นในการคำนวณจุดคุ้มทุนก็เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบว่าในแต่ละเดือนจะต้องขายสินค้าในปริมาณเท่าไหร่ถึงไม่ขาดทุน เมื่อทราบว่าจะต้องขายกี่ชิ้นต่อเดือนถึงเท่าทุนก็จะมีความพยายามที่จะขายให้ได้เท่าปริมาณนั้นเป็นอย่างน้อยและถ้าขายได้มากขึ้นก็จะเกิดกำไรทันที และหากว่าผู้ประกอบการได้พยายามขายสินค้าอย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนสักทีอาจตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลิกขายสินค้านี้ดีกว่า

   จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ

   • ราคาขายต่อหน่วย คือราคาขายของผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ ไม่ใช่ราคาตั้งที่ยังต้องลดราคาอีก

   • ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย คือต้นทุนที่ผันแปรตามการผลิตคือ วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ ค่าแรงงานและค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ที่เกี่ยวกับการผลิตโดยตรง

   • ต้นทุนคงที่รวม คือค่าใช้จ่ายคงที่ที่จำเป็นต้องจ่ายไม่ว่าจะมีการขายเกิดขึ้นหรือไม่ เช่นค่าแรงพนักงานขาย ค่าเช่าหน้าร้าน ค่าเดินทางเป็นต้น

   การหาจุดคุ้มทุนเหมาะกับการวิเคราะห์สินค้าชนิดเดียวและเหมาะกับการตัดสินใจว่าจะไปออกบูทขายสินค้าหรือไม่ เพราะการไปออกบูทขายสินค้าแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายคงที่ที่ชัดเจนทำให้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่จะไปออกบูทขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศซึ่งบางครั้งไม่แน่ใจว่าควรจะไปดีหรือไม่ ยกตัวอย่างดังนี้

   การหาจุดคุ้มทุนยังสามารถคำนวณจำนวนหน่วยที่ขายเมื่อเราต้องการมีกำไรด้วยโดยการบวกกำไรที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในค่าใช้จ่ายคงที่จะทำให้ทราบว่าจะต้องขายปริมาณกี่ชิ้น กี่กล่องถึงจะได้กำไรตามที่เราต้องการ โดยมีรูปแบบการคำนวณดังนี้

   จุดคุ้มทุนบวกกับกำไรที่ต้องการ = (ค่าใช้จ่ายคงที่ +กำไรที่ต้องการ) / (ราคาขายต่อหน่วย-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

   การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนและจุดที่ขายแล้วมีกำไรตามต้องการก็เพื่อวางแผนการขายสินค้าก่อนที่จะผลิตเพราะผู้ประกอบการรายใหม่ไม่มีประสบการณ์การขายสินค้าก็ไม่แน่ใจว่าควรจะผลิตจำนวนมากน้อยเพียงใดทำให้สินค้าสำเร็จรูปไม่เพียงพอหรือมีเหลือมากเกินไป การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนนี้ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ในการวางแผนการผลิตและวางแผนการขายได้ด้วย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : https://bsc.dip.go.th

 7936
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของธุรกิจทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มักนิยมทำการตลาดผ่านโซเชียล เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและรวดเร็ว แต่เจ้าของธุรกิจอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายจ่ายตรงนี้มากเท่าไหร่
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่าและเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์