Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี

Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี


Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมีดังนี้

1.การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่นเมื่อต้องทำงานเป็นทีม

2.การสื่อสาร (Communication Skills)
เป็นทักษะสำคัญทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปแบบของการพูดคุย เจรจาต่อรอง หรือเป็นลายลักษณ์อักษร

3.การแก้ไขปัญหา (Problem Solving Skills)
นักบัญชีต้องพร้อมรับมือกับปัญหาทุกเวลา และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง เมื่อแก้ปัญหาแล้วต้องรู้วิธีรับมือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก

4.ความเป็นผู้นำ (Leadership Skills)
นักบัญชีควรมีทักษะความเป็นผู้นำติดตัวไว้ เพื่อเสริมความกล้าคิดและการนำเสนองาน และเมื่องานเกิดปัญหาก็สามารถพร้อมให้คำปรึกษาได้เสมอ

5.ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skills)
อย่าหยุดที่จะเรียนรู้และปิดกั้นไอเดียความคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่

6.แรงจูงใจ (Motivation Skills)
สิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงบรรยากาศการทำงานร่วมกันเป็นทีม

7.การปรับตัว (Flexibility and Adaptability Skills)
เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานตามแผนที่ตายตัวนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด นักบัญชีจึงต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพื่อปรับใช้ในการทำงาน

8.ความรับผิดชอบ (Responsibility Skills)
การมีความรับผิดชอบต่องานและหน้าที่ของตัวเอง ที่ได้รับมอบหมายมาอย่างเต็มที่ จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

9.การตัดสินใจ (Decision-Making Skills)
นักบัญชีหากถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ต้องกล้าที่จะตัดสินใจ และยอมรับความเสี่ยงที่จะตามมาเมื่อตัดสินใจในเรื่องนั่นไปแล้ว

10.การบริหารเวลา (Time Management)
การจัดลำดับความสำคัญในการทำงานแต่ละวัน จะทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำเสร็จตามกำหนด แต่ก็อย่าลืมที่จะจัดสรรเวลาในการพักผ่อนด้วย


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!




ขอบคุณที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ
 555
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันนี้ผู้คนจำนวนมากเลือกหันหลังให้กับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิศแล้วเปลี่ยนมาทำธุรกิจจดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเพราะต้องการเป็นนายตัวเองและอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงจะเห็นว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่ได้เป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจตั้งแต่แรก แต่หันมาเริ่มต้นตั้งใจและให้ความสนใจพร้อมกับมุ่งมั่นในการหาความรู้เพื่อสร้างธุรกิจของตนเองจนเรียกได้ว่าวันนี้มีธุรกิจ Start up มากมายที่มีแนวโน้มจะก้าวทันรายใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่เพียงอาศัยความรู้หรือวางแผนบริหารจัดการองค์กร วางแผนการโฆษณาหรือสร้างแบรนด์เพื่อแจ้งเกิดให้กับบริษัทหรือเพื่อเพิ่มรายได้ผลกำไรเท่านั้น ยังมีเรื่องสำคัญอย่างการจดทะเบียนธุรกิจและอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะนับว่าเป็นผลต่อการทำธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือต้องรู้เพื่อไม่ให้พลาดและเป็นการทำตามกฎหมายที่ได้กำหนดนั่นคือการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าหรือสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกระดับ มาดูกันว่า“หนังสือบริคณห์สนธิ”คืออะไรมาทำความเข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันได้เลย
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
3 รายการสำคัญที่ต้องมี เพื่อความสมบูรณ์ของบัญชี ผู้จัดทำบัญชีทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกรมทะเบียนการค้า โดยประเด็นสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือเรื่องของ “ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี” แบ่งตามประเภทบัญชี ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์