การกำหนดมูลค่าลูกหนี้

การกำหนดมูลค่าลูกหนี้


การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1.ส่วนลดการค้า (Trade Discounts)
คือ ส่วนลดที่ลดทันที ณ ที่ตกลงซื้อขายสินค้า กิจการจะให้ส่วนลดการค้านี้เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มาก โดยใช้กลยุทธ์ในด้านส่วนลดการค้า และจะกำหนดไว้เป็นอัตราร้อยละของราคาขาย เป็นอัตราเดียวหรือหลายอัตราก็ได้ เมื่อตกลงซื้อขายกันโดยให้ส่วนลดการค้ากับลูกค้า กิจการจะส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ลูกค้าอีกครั้งหนึ่งด้วยจำนวนสุทธิหลังจากหักส่วนลดการค้าแล้ว

2.ส่วนลดเงินสด (Cash Discounts หรือ Sales Discounts)
คือ ส่วนลดที่ให้แก่ลูกค้าเมื่อลูกค้านำเงินมาชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามเงื่อนไขเช่น 2/10, n/30 หมายความว่าจะให้ส่วนลด 2 % ถ้าชำระเงินภายใน 10 วันจากระยะเวลาที่ให้เครดิต 30 วันการค้าแล้ว


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ที่มา :Link
 469
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์