ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร

ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร


ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า

          1. กรณีลูกค้าเลยกำหนดจ่าย: นัดเจรจาเพื่อหาแนวทางแก้ไข
          2. เจรจาเพื่อหาข้อสรุป เช่น เลื่อนการจ่ายออกไปโดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะได้รับเมื่อไร และมีเงื่อนไข ถ้าไม่ทำตามสัญญา เช่น คิดค่าปรับ คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
          3. ถ้าลูกค้าประสบปัญหาเช่นงานไม่มีเพิ่มเข้ามาหรืองานเก่าเก็บเงินไม่ได้ อาจหาทางอื่นเพื่อเก็บหลักประกันเพิ่มเติมเช่นขอโฉนดที่ดินมาเก็บไว้เพื่อเป็นการประกันการจ่ายเงิน
          4. ถ้าลูกค้าไม่มีหลักประกัน อาจให้ลูกค้าทยอยจ่าย อาจแบ่งเป็นงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน หรือตามที่ลูกค้าคาดว่าจะเก็บได้
          5. ถ้าลูกค้ายังผิดนัดชำระ ให้ทำหนังสือแจ้ง เรื่องหนี้ และกำหนดมาตรการหากลูกค้ายังผิดนัดชำระอีก เช่น ทำบัญชีลูกหนี้ที่มีปัญหา, ทำเรื่องส่งทนายฟ้องศาล

มาตรการป้องกันในอนาคต

          1. จัดทำบัญชีลูกหนี้ และมีการประเมินคุณภาพหนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น การแยกอายุหนี้ 30 วัน, 60 วัน, หรือมากกว่า 90 วัน และกำหนดมาตรการกับลูกค้าแต่ละอายุ เช่นการลดส่วนลดที่เคยให้ ลดวงเงินเครดิต หรือเพิ่มดอกเบี้ยเป็นต้น
          2. มีการกำหนดวงเงินลูกค้าแต่ละรายและกำหนดอายุหนี้ให้สั้นลง หากลูกค้าผิดนัด โดยไม่มีเหตุผล
          3. มีการกำหนดหลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่มีวงเงินเครดิตสูง ๆ เช่น 1 ล้านขึ้นไปต้องวางตั๋วอาวัลไว้ 1 ล้านบาทเป็นต้น
          4. ขายเงินสดสำหรับลูกค้ารายใหม่ โดยไม่ปล่อยเครดิตง่ายจนเกินไป ต้องซื้อขายกันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี มีการซื้อต่อเนื่อง
          5. ถ้าลูกค้ารายไหนจ่ายเงินตรงตามเวลาและกำหนด ก็จะมีส่วนลดเพิ่มให้เป็นพิเศษหรือจ่ายเป็นรางวัลปลายปีให้ลูกค้ารายนั้น ๆ
          6. พยายามไม่ให้ลูกค้ามีวงเงินหนี้คงค้างเป็นจำนวนมากเกินกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยของลูกค้าแต่ละราย เพื่อเป็นการป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : www.accountancy.in.th

 1287
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs การที่จะประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ไม่ใช่เรื่องยาก วันนี้มีเรื่องของการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT มาให้ทำความเข้าใจกัน ว่าทำไมธุรกิจของท่านนั้นถึงต้องจัดการให้เข้าสู่ระบบภาษี ต้องเตรียมเอกสารเยอะแค่ไหน ดูเป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวแห่งการเติบโตในธุรกิจที่จะขึ้นในภายภาคหน้า สำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจ “ภาษี” แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ตราบใดที่ทำตามขั้นตอนก็สบายมากๆ
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์