ควรเปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลเมื่อไหร่

ควรเปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลเมื่อไหร่


การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน

1. การทำธุรกิจแบบ  "บุคคลธรรมดา"
ส่วนมากจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เจ้าของลงทุนคนเดียว หรือในลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่ได้จดทะเบียน) ซึ่งมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำธุรกิจและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน แต่มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา โดยธุรกิจรูปแบบนี้ไม่ต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี แต่จะต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ จ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายได้ รายจ่าย ผลกําไรหรือขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจ และใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. การทำธุรกิจแบบนิติบุคคลธุรกิจในรูปแบบ “นิติบุคคล”
จะมีทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  รูปแบบนี้จะต้องมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี พร้อมทั้งมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี แน่นอนว่า ธุรกิจในรูปแบบนี้ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ส่งผลให้การขยายกิจการ การติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่การเข้าถึงแหล่งเงินทุน สามารถทำได้ง่ายกว่าเช่นกัน เพราะมีข้อมูลทางบัญชีที่น่าเชื่อถือ ทำให้ธนาคารรู้ฐานะที่แท้จริงของกิจการ ขณะเดียวกัน สามารถนำไป วางแผนบริหารจัดการธุรกิจได้

หลักการพิจารณาในการเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล

1. สิ่งที่ต้องรู้ก่อน คือ “กำไรของธุรกิจ”
มองว่ากำไรที่แท้จริงของธุรกิจที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น มีเท่าไรและจำนวนภาษีที่ต้องเสียนั้นอยู่ในจุดที่เรารับได้ไหม?

2. มองถึงต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
เช่น ค่าจ้างพนักงาน ต้นทุนต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นหลังจากจดทะเบียนนิติบุคคลมากแค่ไหน ทั้งต้นทุนที่เป็นตัวเงินและเวลาที่เกิดขึ้น

3. เปรียบเทียบความชัดเจนของข้อ 1 และ 2 ว่าคุ้มค่าจริงหรือเปล่า?
ประกอบกับประโยชน์ที่เราจะได้รับในประเด็นอื่นๆ เช่นความสะดวกในการจัดการกิจการ และการดูแลต่างๆ ทางด้านการเงิน อย่างเช่นการขอกู้ยืมเงิน รวมถึงความน่าเชื่อถือต่างๆ

เมื่อตัดสินใจที่จะเปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลแล้ว กิจการต้องเตรียมเพื่อการทำบัญชีและเสียภาษีได้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : www.smeone.com , TAXBugnoms (บล็อกภาษีข้างถนน)

 465
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน
การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์