ทำความรู้จักกับ ภ.ง.ด.53

ทำความรู้จักกับ ภ.ง.ด.53

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน


ภ.ง.ด.53 คือ แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินจะเป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้

นิติบุคคล (Juristic Persons) คือ บุคคลตามกฎหมายที่กฎหมายสมมติขึ้น และรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่ สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งบุคคลธรรมดามีอยู่นั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น สิทธิในด้านครอบครัว สิทธิในทางการเมือง เป็นต้น

ประเภทเงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.53 ได้แก่


1. เงินได้ตามมาตรา 40 (2) – 40 (8) เช่น เงินได้จากค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า การให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน, อาคาร, เครื่องจักร, รถยนต์ เป็นต้น การประกอบวิชาชีพอิสระ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผล เป็นต้น

2. เงินได้จากมาตรา 40 (8) เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่นๆที่นอกเหนือจากข้อ 1

3. เงินได้จากการประกันวินาศภัยเฉพาะกรณีที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย

4. เงินได้จากการขนส่งซึ่งไม่รวมการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ

*** โดยผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นผู้ที่ประกอบกิจการในไทย ***



ผู้มีหน้าที่หักภาษีต้องทำอย่างไร



1. ขอข้อมูลผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ ชื่อที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

2. ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ในอัตราที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร (1,000 บาท)

3. จัดทำหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ถูกหักภาษีทุกครั้งที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย

4. ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายยื่น ภ.ง.ด.53 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือ

 224
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)
การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
จากอดีตถึงปัจจุบันปัญหาที่ทุกองค์กรจะพบคือ ‘การทุจริต’ โดยจะมีบุคคลที่ส่อแววว่าจะทำการทุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก ปัญหาทุจริตจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบระบบภายใน ระบบการเงินอยู่เสมอ เพื่อป้องกันช่องว่างที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นฉวยโอกาส ฉะนั้นเราลองมาดูแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างยั่งยืนและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดกันดีกว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์