ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย



การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • 1. บุคคลธรรมดา : ใช้แบบ ภ.ง.ด.3 2. นิติบุคคล : ใช้แบบ ภ.ง.ด.53

กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีเอกสารประกอบการบัญชี ดังนี้

  • ใบสำคัญจ่าย
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป)
  • สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่าย)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั่นๆค่ะ

1. ใบสำคัญจ่าย เช่น ค่าบริการ ต้องมี

  • ชื่อ “คนรับ“ ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคลจ่ายให้
  • จำนวนเงินค่าบริการ
  • จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ยอดที่ต้องจ่ายจริง

2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ( สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป )

  • **สำหรับ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคล ที่หักก่อนจ่าย มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับผู้ถูกหัก และต้องนำส่งภาษีเงินได้นี้ ให้กับกรมสรรพากร จึงจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เพราะถ้าหากไม่ทำ ไม่นำส่ง ค่าใช้จ่ายนี้สามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ แต่ในทางภาษีจะไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของปีนั้นๆได้ ทั้งนี้จะถูกบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้กำไรทางภาษีมากขึ้น และเสียภาษีมากขึ้น

3. สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่ายผ่าน Mobile Banking) **จ่ายเป็นเงินสด ก็ไม่ต้องแนบ**

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั้นๆค่ะ

ข้อสรุป ***ก่อนจ่ายเงินได้ให้กับคนรับ อย่าลืม!หักก่อนจ่าย และที่สำคัญ*หักไว้แล้วต้องนำส่งกรมสรรพากรด้วยนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : Link

 1610
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี  หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร  ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง  เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ  หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
การบัญชีในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อทุกๆกิจการ การทำงานของบัญชีก็มีหลายส่วนงานด้วยกัน ซึ่งส่วนงานที่สำคัญของบัญชีก็คือการออกงบการเงิน ในงบการเงินประกอบด้วย 5 งบที่สำคัญคือ
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์