วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง

วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง


นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ

1. ช่วยรายงาน

การวิเคราะห์งบการเงินช่วยรายงานผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ว่ามีความสามารถในการทำกำไรยังไงบ้าง ซึ่งอัตราส่วนที่ได้จากการวิเคราะห์งบจะใช้เปรียบเทียบกับคู่แข่งธุรกิจได้สบายๆ   ตัวอย่างอัตราส่วนที่นิยมใช้ เช่น
ความสามารถในการทำกำไร  อัตรากำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / ยอดขาย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี

2. ช่วยแจ้งเตือน

อัตราส่วนที่เราคำนวณจากการวิเคราะห์งบ ช่วยบ่งบอกสัญญาณอันตรายอย่างเช่นการขาดสภาพคล่องได้ก่อนที่จะเจ๊งโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
มีค่า > 1 เท่ากับ สภาพคล่องดี
มีค่า < 1 เท่ากับ ขาดสภาพคล่อง

และถ้าเป็นแบบนี้นักบัญชีต้องรีบแจ้งเจ้าของธุรกิจทันทีเลย

3. ช่วยพยากรณ์
การวิเคราะห์งบดีๆ เผลอๆ อาจช่วยพยากรณ์ธุรกิจหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร เช่น กำไรปีนี้ ลดลง จากปีที่แล้ว จาก 2 ล้านบาท เป็น 1 ล้านบาท เนื่องจากมีต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับยอดขายที่เท่าเดิม ปกติหากเรามข้อมูลย้อนหลังก็ควรเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ทุกปี เพื่อนำไปพยากรณ์ทิศทางและบริหาร ถ้าหากครึ่งปีแรก มีค่าใช้จ่ายใดสูงไป ก็สามารถรัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายนั้น ในครึ่งปีหลังได้ หรือ รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในปีนี้ ก็ต้องปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ เพื่อกระตุ้นยอดขายในปีหน้า หรืออาจจะกลับไปใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเดิมเหมือนในปีที่ทำรายได้ได้สูงๆ

4. ช่วยวางแผน

ช่วยวางแผนภาษี แนวโน้มที่จะเสียภาษี เช่น

  • มีกำไรขั้นต้นไหม Gross Profit = รายได้ – ต้นทุนขาย ถ้ากำไรขั้นต้นติดลบ ก็เป็นสัญญานว่าเราอาจถูกสรรพากรแพ่งเล็งแน่นอน
  • หรือนำกำไรสุทธิมาลองคูณกับอัตราภาษี เพื่อวางแผนการจ่ายชำระค่าภาษีอากรได้ วางแผนว่าต้องสำรองเงินเพื่อจ่ายภาษีเท่าไหร่ และนอกจากนี้ทั้งปีที่เหลืออยู่ เรายังสามารถวางแผนใช้จ่ายให้เข้าเงื่อนไขลดหย่อนเพิ่มเติมของกรมสรรพากรได้อีกด้วย เช่น ถ้าทำทำบุญ บริจาคหรือให้สิ่งของประจำปีอยู่แล้ว ก็แค่ไปเรียนรู้ต่อว่าจะทำอย่างไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แล้วทำให้จ่ายค่าภาษีประจำปีลดลง

เพื่อนๆ คงเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินที่จะส่งผลดีต่อตัวเราเองไปแล้วนะคะ ว่านักบัญชีอย่างเราถ้าเพิ่มการวิเคราะห์งบการเงินไปเป็นความสามารถติดตัว เราก็จะสามารถเป็นนักบัญชีที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารและลูกค้าค่ะ เพียงแค่ลองอัพสกิลเรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เพิ่มเติมเพียงเท่านี้ก็มีโอกาสเพิ่มค่าตัวได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : blog.cpdacademy.co


 549
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์