9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50

9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50


มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ

1. รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
รายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 476) และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655)

2. รายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ
รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ หรือสนามเด็กเล่นสวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 428)

3. รายจ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสถานศึกษา
รายจ่ายเป็นค่าจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 515)

4. รายจ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์
รายจ่ายเป็นค่าจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์เป็น จำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 519)

5. รายจ่ายเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯ
รายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายบริจาคเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯกระทรวงยุติธรรมเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นเงินบริจาคดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 541)

6. รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานศึกษา
รายจ่ายการบริจาคเพื่อการศึกษานั้นกรมสรรพากรมีการออกพระราชกฤษฎีกาให้หักเป็นรายจ่ายได้สองเท่ามาเป็นระยะ ๆ ในเดือนกันยายน 2563 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 บัญญัติให้การบริจาคเพื่อการศึกษาของนิติบุคคลสามารถหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าสำหรับการบริจาคในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 และการบริจาคต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

7. รายจ่ายบริจาคให้แก่องค์กรกีฬา
รายจ่ายเป็นรายจ่ายบริจาคให้แก่องค์กรกีฬาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตรวจสอบรายชื่อหน่วยงานด้านกีฬาที่หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า ได้ที่ https://www.rd.go.th/fileadmin/download/sportsociety_200962.pdf

8. รายจ่ายเพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการของ SMEs
รายจ่ายที่บริษัทฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินเกินกว่า 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานเกินกว่า 200 คน จ่ายเพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินกว่า 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินกว่า 200 คน ทั้งนี้ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งเสริมการดำเนินกิจการที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ให้การรับรองเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2562 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

9. รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลราชการ
รายจ่ายเป็นรายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลของทางราชการที่ หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า ได้ที่ https://www.rd.go.th/27811.html



รายจ่ายเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เพิ่มเติม แต่หากผู้ประกอบการต้องการใช้สิทธิประโยชน์จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนนะคะ เพราะหากทำผิดเงื่อนไขแล้ว นอกจากจะนำมาเป็นรายจ่ายเพิ่มเติมไม่ได้ อาจจะโดนค่าปรับทางภาษีแถมเข้าไปอีกก็เป็นได้ค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : blog.cpdacademy.co

 526
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บัญชีกระแสรายวัน คือประเภทบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องประกอบกิจการต่างๆ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือพาณิชย์ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยจัดการเรื่องการเงินในเชิงธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ โดยเฉพาะเวลาจะทำการโอนหรือจัดการด้านธุรกิจต่างๆ ด้วยวงเงินจำนวนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นบัญชีเงินหมุนเวียน และใช้ออกเช็คในการเบิกจ่ายเงิน โดยสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชีได้ ซึ่งทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพียงส่วนที่เราเบิกเงินเกินเท่านั้น แต่เป็นประเภทบัญชีที่ไม่ได้รับดอกเบี้ย
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์