ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94


ทำไมต้องยื่นภาษีครึ่งปี?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเรามีเงินได้เข้ามา เรายื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องมายื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ก็เพราะไม่ใช่ ทุกคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน บางคนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว บ้างขายของออนไลน์ หรือแม้กระทั่งให้เช่าตึกแถว เป็นต้น เงินได้แต่ล่ะทางที่เราได้มาเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ไม่ใช่เงินได้ ทุกประเภทที่ต้องเสียภาษีครึ่งปีหรอกนะ จะมีแค่เงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี การเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษีเพราะถ้าหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะต้อง ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระสำหรับผู้มีเงินได้

การเสียภาษีบุคคลธรรมดา นอกจากการยื่นภาษีประจำปีแล้ว ยังมีเงินได้อีกกลุ่มที่ต้องเสียภาษีกลางปีผ่านการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนด้วย

แบบ ภ.ง.ด.94   : แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน  เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก

ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 : บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) ซึ่งได้แก่

มาตรา 40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น
มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
มาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ
มาตรา 40(8) เงินได้ที่นอกเหนือจากเงินได้มาตรา 40(1) – (7) เช่น รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ขนส่งและการอื่น

การหักค่าใช้จ่าย  : สามารถเลือกหักได้  2 วิธี คือ

1.หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร (ต้องมีเอกสารและหลักฐานครบ)

2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา อัตราจะแตกต่างไปตามเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) เช่น มาตรา 40(6)  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป์หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 60  ส่วนวิชาชีพอิสระอื่นๆ หักได้ ร้อยละ 30

การหักค่าลดหย่อน : สามารถหักได้ครึ่งหนึ่งตามสิทธิ์

เวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 : ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี

ความผิดหากไม่ยื่นแบบและชำระภาษี  : หากบุคคลธรรมดาไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และชำระภาษีจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และคิดเงินส่วนเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ค้างจ่ายเป็นรายเดือน

ยื่นแบบฯ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามโครงการ “ทำธุรกรรมภาษีที่บ้าน” (TAX from Home) จะช่วยให้การทำธุรกรรมภาษีเป็นเรื่องง่ายที่ www.rd.go.th ทั้งการลงทะเบียน ( e-Registration ) การยื่นแบบฯ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ( e-Filing ) การชำระภาษี ( e-Payment ) ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย”


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 

ที่มา : กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th,กรมสรรพากร

 684
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง
TAX กับ VAT เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงในโลกออนไลน์กันอย่างต่อเนื่องว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และถือเป็นการเสียภาษีให้กับภาครัฐเหมือนกันหรือไม่? 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์