หนังสือรับรอง หักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

หนังสือรับรอง หักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร


ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือชื่อเต็มๆ คือ “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย” เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเสียภาษี โดยกรมสรรพากรได้กำหนดให้กิจการแต่ละประเภท หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ในจำนวนที่แตกต่างกัน ซึ่งเงินเดือนหรือค่าจ้างจะหักตาม “อัตราก้าวหน้า” ที่กรมสรรพากรกำหนด ถ้าสังเกตกัน เวลาได้รับเงินเดือนจะมีเงินบางส่วนถูกหักออกไปโดยอาจจะรวมถึง เงินสะสมเข้าประกันสังคม และอีกหนึ่งในรายการที่ถูกหักไปก็คือเงินที่นายจ้างหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือนนั่นเอง

การหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็เป็นมาตรการการเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วน เพื่อให้เป็นการทะยอยจ่ายภาษีล่วงหน้าเพื่อลดภาระภาษีเมื่อถึงเวลายื่นภาษีจริงๆ ซึ่งการจ่ายภาษีล่วงหน้า หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถนำมาคำนวณเป็นเครดิตภาษีได้ด้วยนะ

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ 50 ทวิ คือ เอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี นอกจากนี้ในเอกสาร 50 ทวิ ยังแสดงข้อมูลรายได้ว่าได้มาจากที่ใดและจำนวนเท่าไหร่บ้าง เป็นเอกสารที่ผู้มีเงินได้จะได้รับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี

ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
                 ขอบคุณตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย : rd.go.th

ใครเป็นคนจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ?

นายจ้างหรือบริษัท ที่ทำงานกันอยู่ที่มีหน้าที่ออก 50 ทวิ โดยอาจจะจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ หรือถ้าหากจัดทำเป็นภาษาอื่นๆ จะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยกำกับอยู่ด้วย

การจัดทำ 50 ทวิ จะถูกจัดทำออกมา 2 ฉบับ ประกอบด้วย

● ฉบับที่ 1 จะมีข้อความกำกับว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับการแสดงรายการ”
● ฉบับที่ 2 ใช้สำหรับให้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน

บริษัทบางแห่ง อาจจัดทำหนังสือ 50 ทวิ อีก 1 ฉบับเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานก็สามารถทำได้

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะได้รับเมื่อไหร่ ?

หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) นับเป็นเอกสารสำคัญที่คนมีรายได้ทุกคนต้องใช้ในการคำนวณภาษี และเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภงด 91) ดังนั้น หากเลยกำหนดที่เพื่อนๆ ควรจะได้เอกสาร 50 ทวิจากบริษัทแล้ว ปรากฏว่ายังไร้วี่แวว แนะนำให้รีบติดต่อสอบถามไปยังบริษัท หรือแผนกบุคคลทันที

โดยปกติหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายควรออกให้แก่พนักงานภายในวันที่ 15 ก.พ. ของปีถัดจากปีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย หรือในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากงานระหว่างปี เอกสาร 50 ทวิควรถูกออกให้แก่ผู้ถูกหักภาษีภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกหักออกจากงาน ในกรณีเป็นเงินได้อื่นๆ นอกจากเงินค่าจ้างเช่น ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา ผู้ถูกหักภาษีต้องได้รับหนังสือรับรองการหักภาษีทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

สรุปว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินภาษีที่นายจ้างหรือบริษัทจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับพนักงาน เพื่อนำส่งให้กับสรรพากรตามหน้าที่ พนักงานก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิที่เรียกกันอย่างสั้นๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีว่าได้ชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วจำนวนเท่าไหร่นั่นเอง

 

Cr.moneywecan

 726
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง
ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี CPA (Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) การสอบ CPA เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในด้านบัญชีและงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นที่ยอมรับและเคารพในวงกว้างในวงการบัญชีและการเงิน
เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์