สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีหน้าที่ทำอะไรให้บ้าง

สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีหน้าที่ทำอะไรให้บ้าง

หน้าที่ของสำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี ที่รับจ้างทำบัญชี คืออะไร?

จ้างทำบัญชีคือทำอะไร?  บริการรับทำบัญชีควรต้องทำอะไรให้บ้าง? เป็นคำถามที่เจ้าของกิจการ / ผู้ประกอบการ หลายท่านสงสัย

วันนี้เราจะมาดูกันว่า บริการรับทำบัญชี คือทำอะไร....สำนักงานบัญชี / บริษัททำบัญชี ที่รับทำบัญชีนั้น มีหน้าที่ต้องทำงานอะไรให้บ้าง

บริการรับทำบัญชี ประกอบด้วยบริการดังต่อไปนี้

  1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ
    • ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน
    • ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี
    • ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี
  2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ
    • งานบัญชีบริหาร
    • งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร

1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ

1.1 ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน

  • ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
    • ภ.ง.ด.1    หากมีการจ่ายเงินให้พนักงาน
    • ภ.ง.ด.3   หากมีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา
    • ภ.ง.ด.53  หากมีการจ่ายเงินให้นิติบุคคล
    • ภ.ง.ด.54  หากมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
  • ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ยื่นประกันสังคม
    • นำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน
    • แจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่
    • แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนหากลูกค้าลาออก

1.2 ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี

  • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีรายวัน 5 เล่มตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บัญชีเงินสด, บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร, บัญชีรายวันซื้อ, บัญชีรายวันขาย และบัญชีรายวันทั่วไป
  • จัดทำบัญชีแยกประเภทต่างๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีสินค้า
  • จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
  • ปิดบัญชีประจำปี จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน เช่น สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด, การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และบัญชีต่างๆ เป็นต้น
  • จัดทำงบการเงินประจำปี ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน, งบกำไรขาดทุน, งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น, และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
  • ให้ข้อมูลและตอบคำถามผู้สอบบัญชี ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน   

1.3 ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี

2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ

ข้อด้านล่างนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่กิจการอาจเลือกจ้างสำนักงานบัญชีให้ทำงานเหล่านี้ให้ด้วยได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการ

2.1 งานบัญชีบริหาร

  • ปิดงบและรายงานผลการดำเนินงาน รายเดือน หรือ รายไตรมาส (ความถี่แล้วแต่ตกลง) แก่ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ
  • วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขผลประกอบการ  เพื่อให้สามารถนำตัวเลขมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงที   

2.2 งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร  

  • วางระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน เช่น กำหนดรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กำหนดขั้นตอนระบบการทำงานและผังวงจรเอกสารภายใน เป็นต้น
  • การวางแผนภาษีทั้งภาษีนิติบุคคล และอาจครอบคลุมไปถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของ

หากสำนักงานบัญชีและนักบัญชีกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs เราขอแนะนำโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และนักบัญชียอมรับพร้อมรองรับการใช้งานสำหรับสำนักงานบัญชีได้ทุกอย่าง อีกทั้งยังคุ้มค่ากับการลงทุน และช่วยประหยัดเวลาในการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีแบบครบวงจร

ลงทะเบียน Demo โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชี
ที่มา : https://accountingcenter.co
 6062
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์