ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร

ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร


ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า

          1. กรณีลูกค้าเลยกำหนดจ่าย: นัดเจรจาเพื่อหาแนวทางแก้ไข
          2. เจรจาเพื่อหาข้อสรุป เช่น เลื่อนการจ่ายออกไปโดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะได้รับเมื่อไร และมีเงื่อนไข ถ้าไม่ทำตามสัญญา เช่น คิดค่าปรับ คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
          3. ถ้าลูกค้าประสบปัญหาเช่นงานไม่มีเพิ่มเข้ามาหรืองานเก่าเก็บเงินไม่ได้ อาจหาทางอื่นเพื่อเก็บหลักประกันเพิ่มเติมเช่นขอโฉนดที่ดินมาเก็บไว้เพื่อเป็นการประกันการจ่ายเงิน
          4. ถ้าลูกค้าไม่มีหลักประกัน อาจให้ลูกค้าทยอยจ่าย อาจแบ่งเป็นงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน หรือตามที่ลูกค้าคาดว่าจะเก็บได้
          5. ถ้าลูกค้ายังผิดนัดชำระ ให้ทำหนังสือแจ้ง เรื่องหนี้ และกำหนดมาตรการหากลูกค้ายังผิดนัดชำระอีก เช่น ทำบัญชีลูกหนี้ที่มีปัญหา, ทำเรื่องส่งทนายฟ้องศาล

มาตรการป้องกันในอนาคต

          1. จัดทำบัญชีลูกหนี้ และมีการประเมินคุณภาพหนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น การแยกอายุหนี้ 30 วัน, 60 วัน, หรือมากกว่า 90 วัน และกำหนดมาตรการกับลูกค้าแต่ละอายุ เช่นการลดส่วนลดที่เคยให้ ลดวงเงินเครดิต หรือเพิ่มดอกเบี้ยเป็นต้น
          2. มีการกำหนดวงเงินลูกค้าแต่ละรายและกำหนดอายุหนี้ให้สั้นลง หากลูกค้าผิดนัด โดยไม่มีเหตุผล
          3. มีการกำหนดหลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่มีวงเงินเครดิตสูง ๆ เช่น 1 ล้านขึ้นไปต้องวางตั๋วอาวัลไว้ 1 ล้านบาทเป็นต้น
          4. ขายเงินสดสำหรับลูกค้ารายใหม่ โดยไม่ปล่อยเครดิตง่ายจนเกินไป ต้องซื้อขายกันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี มีการซื้อต่อเนื่อง
          5. ถ้าลูกค้ารายไหนจ่ายเงินตรงตามเวลาและกำหนด ก็จะมีส่วนลดเพิ่มให้เป็นพิเศษหรือจ่ายเป็นรางวัลปลายปีให้ลูกค้ารายนั้น ๆ
          6. พยายามไม่ให้ลูกค้ามีวงเงินหนี้คงค้างเป็นจำนวนมากเกินกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยของลูกค้าแต่ละราย เพื่อเป็นการป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : www.accountancy.in.th

 1016
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์