มาทำความรู้จักกับ ภ.พ.30

มาทำความรู้จักกับ ภ.พ.30

แบบ ภ.พ.30 คือ แบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้



ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีที่เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อสินค้า,วัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อมาทำเป็นสินค้าหรือบริการ ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน หรือค่าใช้จ่ายต่าง ที่ใช้ในการดำเนินการของกิจการ โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้าและบริการ แต่เงิน 7% นี้จะไม่ใช่ของกิจการ แต่เป็นของรัฐที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากร

** เอกสารที่แสดงในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คือเอกสารใบกำกับภาษี

โดยทุกๆสิ้นเดือนเจ้าของกิจการจะนำเอกสารใบกำกับภาษีมาสรุปยอดภาษีซื้อ-ภาษีขาย โดยนำ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในแต่ละเดือน


ทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ด้วย ระบบ Value Added Tax โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed เป็นระบบสำหรับเรียกดูรายงานภาษีซื้อ , ภาษีขายของกิจการ โดยสามารถเลือกรายงานตามงวดที่ ต้องการได้ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร และยังสามารถ พิมพ์ ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53 ทั้งใบปะหน้า และใบแนบ รวมทั้งหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย


แอพพลิเคชั่นสำหรับเรายงานภาษี

รายงานภาษีซื้อ

เรียกดูรายงานภาษีซื้อของกิจการ และเป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร
ดูเพิ่มเติม
รายงานภาษีขาย

รายงานภาษีขาย

เรียกดูรายงานภาษีขายของและเป็นเอกสารประกอบ การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) แก่กรมสรรพากร
ดูเพิ่มเติม
Reprocess Vat

Reprocess Vat

ตรวจสอบการ Post รายการของภาษีซื้อ และภาษีขาย ว่ามีการ Post ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่
ดูเพิ่มเติม
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เป็นการพิมพ์รายงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ทั้งใบแนบ และใบปะหน้าเพื่อนำส่งแก่กรมสรรพากรต่อไป
ดูเพิ่มเติม
ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย

เป็นการพิมพ์รายงานภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายของกิจการ
ดูเพิ่มเติม
บัญชีพิเศษภาษี หัก ณ ที่จ่าย

บัญชีพิเศษภาษี หัก ณ ที่จ่าย

รายงานที่แสดงบัญชีพิเศษภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูล การหัก ณ ที่จ่ายของกิจการ ว่ามีการหักของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลอะไรบ้าง
ดูเพิ่มเติม
หนังสือรับรองการ หัก ณ ที่จ่าย

หนังสือรับรองการ หัก ณ ที่จ่าย

เป็นการพิมพ์หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ของกิจการ กรณีที่มีการหัก ณ ที่จ่ายจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา
ดูเพิ่มเติม
Export Tax

Export Tax

การโอนข้อมูลเกี่ยวกับภาษี และภ.ง.ด. ต่าง ๆ ที่อยู่ในโปรแกรม ไปเก็บไว้ที่ File ที่ผู้ใช้ต้องการ
ดูเพิ่มเติม
 1254
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หากจำนวนเงินค่าบริการหรือค่าจ้างที่ต้องจ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและออกใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือไม่
ถ้าคุณจบปริญญาตรี สาขาบัญชีมา  โดยทั่วไปจะสามารถเลือกเข้าทำงานในบริษัทได้หลายรูปแบบ จะเลือกทำงานในบริษัทที่เป็นผู้ผลิต หรือผู้ขายก็ได้  หรือจะเลือก หางานบัญชีบริษัทตรวจสอบบัญชีก็ได้ ทั้ง 2  กรณีนี้จะมีรูปแบบการทำงานแตกต่างกัน
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
เอกสารประกอบการบันทึกค่าใช้จ่ายแบบไหนที่ไม่สามารถใช้ได้
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์