ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ใช้ต่างกันอย่างไร?

ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ใช้ต่างกันอย่างไร?


นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด
 ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง

       เรามาลองดูว่าเอกสาร 2 อย่างนี้ใช้กันอย่างไรนะคะ เพราะเชื่อว่ายังมีบางคนที่ไม่รู้ว่าใช้กันยังไง

       ใบสำคัญรับเงิน ใช้ในกรณีที่  ผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ และยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

       ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ใช้ในกรณี ที่ได้เอกสารการรับเงินจากผู้ขาย ไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่มีชื่อผู้รับเงิน หรือไม่มี ชื่อ ที่อยู่  เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี เป็นต้น ก็ให้จัดทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินแนบกับเอกสารที่ได้รับจากผู้ขาย หรือจะเป็นใช้ในกรณีที่ ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายได้ เช่น ค่าแท็กซี่ เป็นต้น


แหล่งที่มา : Link

 2201
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริจาค ถือเป็นการให้และการเสียสละที่สามารถช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนกิจการสาธารณกุศล สาธารณะประโยชน์ การศึกษา และการกีฬา โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนนอกจากจะทำให้ผู้ให้มีความสุขแล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs การที่จะประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ไม่ใช่เรื่องยาก วันนี้มีเรื่องของการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT มาให้ทำความเข้าใจกัน ว่าทำไมธุรกิจของท่านนั้นถึงต้องจัดการให้เข้าสู่ระบบภาษี ต้องเตรียมเอกสารเยอะแค่ไหน ดูเป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวแห่งการเติบโตในธุรกิจที่จะขึ้นในภายภาคหน้า สำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจ “ภาษี” แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ตราบใดที่ทำตามขั้นตอนก็สบายมากๆ
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์