3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ

3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ


หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
บทความในวันนี้ @TAXBugnoms เลยตั้งใจจะมาพูดถึงวิธีการประหยัดภาษีแบบผิด ๆ ที่ไม่ควรทำว่ามีวิธีไหน อะไรบ้าง 

1. ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย
       วิธีนี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพียงแค่ไม่ต้องจ่ายก็จบแบบง่าย ๆ แล้วครับ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ถ้าหากเราโดนจับได้ขึ้นมา แปลว่าเรากำลังทำผิดกฎหมายอยู่นะครับ ซึ่งมีผลทำให้เราอาจจะต้องเสียภาษีพร้อมเบี้ยปรับ (ค่าปรับ) และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) สูงถึง 4 เท่าของภาษีที่เราต้องจ่ายกันเลยทีเดียวครับ
บางคนอาจจะบอกว่า ไม่อยากจ่ายภาษี เพราะกลัวว่าภาษีที่จ่ายไปจะไม่ถูกใช้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าตัวเราเองยังทำผิดกฎหมายไปด้วย แบบนี้ก็คงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ?

2. กระจายรายได้แบบผิด ๆ
       นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกันครับ แต่ขอบอกเลยครับว่าวิธีนี้เป็นที่ฮอตฮิตมาก ๆ สำหรับการประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลยทีเดียว วิธีการก็ไม่มีอะไรยาก แค่ไปหาชื่อคนอื่นมารับรายได้แทนเราเพื่อทำให้เราเสียภาษีน้อยลง เพราะอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบก้าวหน้า (ยิ่งมีรายได้มากยิ่งเสียในอัตราที่สูงขึ้น) ดังนั้นเมื่อแบ่งกระจายกันไปให้ทั่ว ๆ กัน ก็ย่อมเสียภาษีน้อยลงเป็นธรรมดา แต่ปัญหายังไม่จบครับ เพราะเราอาจเจอเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
 
       ต้องเสียเพิ่ม : คนที่เราแบ่งรายได้ให้ไปนั้นอาจจะมีรายได้อยู่แล้ว อาจจะเป็นว่าต้องเสียภาษีแพงกว่าเดิมก็ได้ แบบนี้ก็คงเป็นปัญหาชีวิตที่วุ่นวายทางหนึ่ง หรือ
 
       โดนจับได้ : ถูกสรรพากรตรวจสอบได้ว่าเป็นการกระจายรายได้เพื่อเลี่ยงภาษี ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะผู้ที่มีรายได้จริง ๆ คือเรา แบบนี้ก็อาจจะทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มในส่วนที่ขาดไปพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเช่นเดียวกันครับ
ดังนั้น ถ้าอยากจะกระจายรายได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องวางแผนให้ชัดเจนและถูกต้อง คือ ตัวผู้มีรายได้เองต้องเป็นคนที่ดำเนินกิจการ รับงานจ้าง หรือทำธุรกิจนั้น ๆ จริง ๆ เพื่อให้มีรายได้ และนั่นคือสิ่งถูกต้องที่เราควรทำครับ

3. สร้างหลักฐานเท็จ
       หลบเลี่ยงรายได้ สร้างค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง โดยวิธีการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อประหยัดภาษีนั้นถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกันครับ เพราะการหลบเลี่ยงรายได้ หรือสร้างเอกสารค่าใช้จ่ายปลอมนั้น มีความสุ่มเสี่ยงที่จะโดนตรวจสอบภาษี และถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าผิดจริง แบบนี้รับรองครับว่า พี่สรรพากรตามติดไม่มีปล่อยไปอีกนานแน่ ๆ ดังนั้นทางที่ดีอย่างคิดลองดีกว่าครับ


แหล่งที่มา : ขอขอบคุณ TAXBugnoms
 538
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การยื่นภาษีมีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่าการยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนยื่นภาษี
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
มาทำความรู้จักกับการยื่นภาษี ประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ต้องเสียภาษีและต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้)
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์