sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน
ย้อนกลับ
บันทึกที่ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายภายใน
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา
การที่ธุรกิจมีบันทึกพื้นฐานต่อไปนี้จะสามารถสร้างระบบการบัญชีขึ้นมาได้
1. สมุดรายวันเงินสดรับใช้เพื่อบันทึกเงินสดซึ่งเข้ามาในธุรกิจ
2. สมุดรายวันเงินสดจ่าย
ใช้เพื่อบันทึกรายจ่ายของธุรกิจ
3. สมุดรายวันขาย
ใช้เพื่อบันทึกและสรุปรายรับรายเดือน
4. สมุดรายวันซื้อใช้เพื่อบันทึกการซื้อสินค้าซึ่งซื้อเข้ามาเพื่อนำไปผลิต หรือจำหน่าย
5. บัญชีเงินเดือนใช้เพื่อบันทึกค่าจ้างเงินเดือนของลูกจ้างและรายการหัก ต่าง ๆ เช่น ภาษีเงินได้
6. อุปกรณ์เป็นบันทึกสินทรัพย์ทุนของธุรกิจ เช่น อุปกรณ์ เครื่องใช้ สำนักงาน และยานพาหนะ
7. สินค้าคงคลัง เป็นบันทึกการลงทุนในสินค้าและชิ้นส่วนต่างๆ ของ ธุรกิจซึ่งเป็นที่ต้องการเพื่อให้ได้กำไรที่แท้จริงในงบ
การเงินและเพื่อจุดมุ่งหมายด้านภาษีอากร
8. บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ใช้เพื่อบันทึกยอดเงินที่ลูกค้าเป็นหนี้ธุรกิจ
9. บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ใช้เพื่อบันทึกสิ่งที่ธุรกิจเป็นหนี้ผู้จำหน่ายสินค้าและ เจ้าหนี้รายอื่น ๆ
หลักสำคัญของระบบการเก็บบันทึกภายในที่ดีนั้น คือ งบประมาณของธุรกิจ
เนื่องจากงบประมาณเป็นสิ่งจำเป็นในการวางแผนเป็นตัวเลขและเป็นเครื่องมือในการควบคุมจึงจำเป็นต้องทำให้งบประมาณทันสมัยและมีการตรวจสอบบ่อยครั้ง ยอดขายควรจะอยู่ระดับใด การใช้จ่ายในเรื่องของสินค้าคงคลังมีจำนวนมาเกินไปหรือน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับระดับของยอดขายที่คาดไว้ ค่าใช้จ่ายสำนักงานมีจำนวนสูงเกินไปเมื่อเทียบกับยอดขายหรือไม่
บันทึกที่ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายภายนอก
บันทึกจะต้องถูกเก็บรักษาไว้เพื่อตอบสนองหน่วยงานของรัฐ ลูกค้า และเจ้าหนี้แต่จำนวนข้อมูลที่ต้องการจะผันแปรไปขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจและสถานที่ตั้ง นอกจากความต้องการของรัฐแล้วเจ้าหนี้อาจจะต้องการายงานตามระยะเวลาเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของธุรกิจ สำหรับ SMEs ที่ขอกู้เงิน งบการเงินเหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นฐานะการเงินไม่เพียงแต่ในช่วงเวลาปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงฐานะการเงินในปีต่าง ๆ ที่ผ่านมาอีกด้วย ผู้ให้กู้ยืมทางการพาณิชย์ไม่ค่อยจะให้กู้เงิน ถ้าหากว่าไม่มีรายงานเหล่านี้
การตระหนักว่าข้อมูลอะไรเป็นข้อมูลที่จำเป็นและเป็นประโยชน์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าในบางกรณีบันทึกต่างๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการเพื่อจุดมุ่งหมายภายนอกอาจจะแตกต่างจากบันทึกซึ่งเป็นที่ต้องการเพื่อการบริหารภายในอย่างเห็นได้ชัด ในกรณีส่วนใหญ่ธุรกิจสามารถผสมผสานบันทึกเหล่านี้เพื่อใช้ตอบสนองจุดมุ่งหมายทั้งสองด้านได้ในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นการช่วยลดภาระและค่าใช้จ่ายในการเก็บบันทึก
บันทึกทางการเงิน
เจ้าของSMEs เป็นจำนวนมากไม่ได้ทำบัญชีด้วยตนเอง พวกเขาจะว่าจ้างนักบัญชีที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือการให้บริการทำบัญชีเพื่อให้บันทึกและจัดเตรียมงบการเงิน ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่การบัญชีด้วยตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญที่เขาจะต้องเข้าใจความหมายของรายงานซึ่งถูกจัดทำขึ้น
คุณสมบัติที่สำคัญของระบบการบัญชี
การจะทำบันทึกทางการเงินเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่จะเป็นการประกันว่าสมุดบัญชีต่าง ๆ จะเป็นที่เข้าใจและถูกนำไปใช้ในกระบวนการบริหารธุรกิจ ดังนั้น ระบบการเก็บบันทึกทางการเงินจะต้องได้รับการประสานภายใต้ข้อจำกัดให้เข้ากับความต้องการของเจ้าของและผู้บริหารคนอื่น ๆ ซึ่งใช้ข้อมูลทางการเงิน กระบวนการเก็บบันทึกที่ดีควรจะตอบสนองผู้ประกอบการโดยจะต้อง
1. ง่ายที่จะทำความเข้าใจ
2. คล่องตัวและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการและธุรกิจ
3. ไม่เสียค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงเกินไป
4. ไม่ใช้เวลามากเกินไปในการเก็บรักษา
5. เป็นประโยชน์และใช้ได้สะดวกเพื่อจุดมุ่งหมายภายในและภายนอก
ง่ายที่จะทำความเข้าใจ
เพื่อให้ระบบการทำบัญชีเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ระบบดังกล่าวควรจะง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้มิเช่นนั้นแล้วคุณค่าของระบบจะด้อยลงไปและจะเลือนหายเข้าสู่ความมืดมน คำศัพท์ที่ทันสมัยต่าง ๆ อาจจะถูกทดแทนด้วยภาษาธรรมดาสามัญ ตัวอย่างเช่น คำว่าส่วนของเจ้าของอาจจะถูกเปลี่ยนเป็นการลงทุนในธุรกิจของเจ้าของ
ในทำนองเดียวกัน คำที่เข้าใจได้ง่ายอาจจะถูกนำไปใช้แทนที่คำที่เป็นทางการ ถ้าหากว่าคำเหล่านั้นช่วยให้เกิดความชัดเจนและมีการให้คำอธิบายไว้ รายการบัญชีทุกรายการสามารที่จะถูกแยกออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้สามารถมองเห็นว่ารายการบัญชีแต่ละรายการประกอบด้วยอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น รายจ่ายจ่ายล่วงหน้าสามารถที่จะถูกแยกรายการออกในงบดุลเพื่อแสดงให้เห็นการจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นค่าประกันภัย ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ถ้าหากว่าการแยกรายการดังกล่าวจะช่วยทำให้กระบวนการง่ายขึ้นและทำให้รายงานเป็นที่เข้าใจและถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
คล่องตัวและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการและธุรกิจ
คุณสมบัติประการที่สองของระบบการทำบัญชีที่ดี คือ ความคล่องตัวและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ธุรกิจขนาดย่อมเติบโตขึ้น ประเภทของรายการบัญชีในบันทึกทางการเงินอาจจะจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงซึ่งมักจะมีการดำเนินการโดยการเพิ่มประเภทบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่ประเภทต่าง ๆ หรือสินค้าและบริการที่ผลิตและจำหน่าย ในการเพิ่มประเภทบัญชีดังกล่าวควรจะปล่อยให้มีช่องว่างไว้บ้างเมี่อมีจัดระบบ ผู้ที่รับผิดชอบควรจะมีการพิจารณาถึงประเภทบัญชีที่จัดให้มีขึ้นและความสามารถของบัญชีประเภทต่าง ๆ ในการขยายออกไปให้รับกับธุรกิจด้านใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจแห่งหนึ่งใช้บัญชีประเภทการลงทุนอื่น ในงบดุลเพื่อใช้บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ แต่กเป็นกิจกรรมที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสินทรัพย์ความเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารจะไม่ถูกใช้โดยธุรกิจซึ่งโดยตัวเองแล้วมีความเหมาะสมที่จะอยู่ในบัญชีประเภทนี้
ไม่เสียค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงเกินไป
กระบวนการเก็บบันทึกที่ละเอียดสมบูรณ์จะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่การควบคุมทางการเงินจะสามารประหยัดได้ ตัวอย่างเช่น เป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลเลยที่จะจ่ายเงินจำนวน 25,000 บาทเพื่อที่จะรักษาให้บัญชีประเภทค่าใช้จ่ายอยู่ในแนวทางที่กำหนดโดยที่บัญชีดังกล่าวมีจำนวนเงินเพียง 17,500 บาทต่อปี สำหรับธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ การมีพนักงานบัญชีเพียงคนเดียวก็เพียงพอและความต้องการระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างกันอย่างมากตามขนาดและลักษณะของธุรกิจ
ไม่ใช้เวลามากเกินไปในการเก็บรักษา
สิ่งที่สัมพันธ์กับเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินงาน คือ ข้อเท็จจริงที่ว่าการเก็บรักษาบันทึกต่าง ๆจะต้องไม่ใช้เวลามากเกินควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ ระบบการเก็บบันทึกควรจะทำงานให้กับเจ้าของเจ้าของไม่ควรจะต้องทำงานให้กับระบบการบันทึกทางการเงินเริ่มที่จะเป็นภาระและมักจะถูกละเลยมากขึ้น
เป็นประโยชน์และใช้ได้สะดวก
บันทึกทางการเงินจะต้องมีไว้พร้อมเพื่อให้ผู้ประกอบการใช้ได้ทุกวันและควรจะถูกเก็บให้ทันสมัยโดยใช้หลักเกณฑ์รายเดือนและจัดเก็บไว้ในที่ซึ่งสะดวกสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริหารคนอื่น อย่างไรก็ตาม การที่จะได้บันทึกเหล่านี้นจะต้องถูกจำกัดดให้แต่เพียงเฉพาะผู้ที่ต้องการข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
สรุปประเด็น
การบัญชีและการบันทึกทางการเงิน เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรให้ความสนใจ เนื่องจาก เจ้าหนี้และ ผู้ที่จะให้กู้ยืมเงิน จะให้ความสนใจเกี่ยวกับสภาพบันทึกของธุรกิจเป็นอันดับแรก เนื่องจากจะสามารถมองเห็นว่าธุรกิจสามารถทำกำไรได้ด้วยวิธีใด ในที่สุดผู้ประกอบการควรจะให้ความสนใจว่าธุรกิจดำเนินงานอย่างเหมาะสมหรือไม่
ในบทนี้จะเน้นให้ผู้ประกอบการรู้จักการจัดทำบันทึกทางการเงินตามหลักมาตรฐานสากล ซึ่ง บันทึกที่ดีต้องจัดทำทั้ง 1) บันทึกที่ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายภายนอก 2) บันทึกที่ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายภายนอก โดยการทำบันทึกทางการเงินทั้ง 2 ข้อที่กล่าวข้างต้น ต้องง่ายต่อการทำความเข้าใจ คล่องตัวและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการและธุรกิจ ไม่เสียค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงเกินไป ไม่ใช้เวลามากเกินไปในการเก็บรักษา สุดท้าย ต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้สะดวก
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
บทความโดย
: www.banneronline.net
696
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
Retention และ Refinance แตกต่างกันอย่างไร
Retention และ Refinance แตกต่างกันอย่างไร
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
ภาษีอะไรบ้างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การนำเข้า-ส่งออกสินค้า
ภาษีอะไรบ้างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การนำเข้า-ส่งออกสินค้า
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนิน
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
อนุสัญญา ภาษีซ้อน
อนุสัญญา ภาษีซ้อน
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505 กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ค่าน้ำมันรถยนต์พนักงาน ทำอย่างไรบริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงานที่ต้องเสียภาษี
ค่าน้ำมันรถยนต์พนักงาน ทำอย่างไรบริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงานที่ต้องเสียภาษี
ประเภทของธุรกิจ (Business) มีกี่รูปแบบ? แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?
ประเภทของธุรกิจ (Business) มีกี่รูปแบบ? แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com