sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด
ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด
ความสัมพันธ์ของวงจรทางธุรกิจกับกระแสเงินสด
ย้อนกลับ
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด
โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
เมื่อวงจรธุรกิจหมุนซ้ำๆ แล้วมีเงินสดเพิ่มมากขึ้น เราจึงเรียกว่า “กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร” สิ่งที่สำคัญในการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ คือ การใช้เงินทุนปริมาณน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งทำให้กระแสเงินสดสำหรับการบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
กำไร คือส่วนต่างของยอดขาย (ยอดขายค้างรับ) กับค่าใช้จ่าย (ต้นทุนสินค้า) โดยปกติแล้วจะคำนวณกำไรเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า แต่ทว่าการเก็บเงินจากยอดขายค้างรับจะทำหลังจากนั้น ทำให้การคำนวณกำไรกับการเพิ่มขึ้นของเงินสดมีจังหวะที่ต่างกัน
ในกรณีที่กำไรกับกระแสเงินสดสำหรับการบริหารมีความแตกต่างกันมาก เมื่อมีกำไรเกิดขึ้น ก็เอาเงินที่ได้จากการขายไปใช้เสียหมด และเมื่อผลิตสินค้าที่เหมือนกันอีกครั้งหนึ่ง ก็ปรากฎว่าครั้งนี้ขายไม่ได้เลย แต่ต้องปิดบัญชี ถึงตอนนี้ในมือไม่มีเงินสดคงเหลืออยู่ แต่ทว่าทางการบัญชีกลับปรากฎว่ามีกำไรเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะขายสินค้าหมด แต่ไม่สามารถเก็บยอดขายค้างรับได้เลย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็จะเหมือนกัน ดังนั้น การที่มีกำไร (เป็นบวก) กับการที่มีเงินสดอยู่ในมือเป็นคนละเรื่อง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
ตารางที่อธิบายการเพิ่มลด และยอดคงเหลือของเงินสดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า ตารางกระแสเงินสด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
1. กระแสเงินสดสำหรับการบริหาร (Cash Flow /CF การบริหาร)
ในวงจรธุรกิจ เราเรียกเงินสดที่เพิ่มขึ้นว่า “CF การบริหาร” หมายถึง มูลค่าที่เกิดจากการนำค่าเสื่อมราคาบวกเข้ากับกำไร (ยอดขาย-ค่าใช้จ่าย) งวดนี้ จากนั้นนำส่วนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนดำเนินการ (สินค้าคงคลัง+ยอดขายค้างรับ-ยอดซื้อค้างจ่าย) ไปหักออก การที่เอาค่าเสื่อมราคาบวกเข้าไปด้วย เหตุผลก็คือ ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ทำให้เกิดการจ่ายเงินสดออกไปนั่นเอง หมายความว่า ถ้าหากว่าเงินทุนดำเนินการมีเพิ่มขึ้นมากกว่า กำไร+ค่าเสื่อมราคา (เรียกว่า กำไรเงินสด) ก็จะทำให้ CF การบริหารติดลบ จึงอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “บัญชีถูกต้อง แต่เงินสดไม่พอ”
2. กระแสเงินสดสำหรับการลงทุน (Cash Flow /CF การลงทุน)
การรับหรือจ่ายเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินถาวร เรียกว่า “CF การลงทุน” ในทางรูปธรรมจะมีการซื้อหรือขายเครื่องจักรอุปกรณ์ อาคาร ที่ดิน หุ้นของบริษัทลูก การซื้อขายหุ้นที่มีอยู่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการลงทุน การให้กู้ หรือคืนเงินกู้ให้บริษัทลูก เป็นต้น บริษัทที่มีความแข็งแกร่งจะมีการดำเนินกิจกรรมการลงทุนอย่างจริงจัง ดังนั้นค่าตัวเลขนี้มักจะติดลบ หรือเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทพยายามจะไม่ลงทุน CF การบริหาร ก็จะลดน้อยลง บริษัทจะอยู่ต่อไปได้อย่างน้อยที่สุดจำเป็นต้องมีรายจ่ายเพื่อการลงทุนให้ เพียงพอที่จะรักษาสภาพปัจจุบันไว้ ตัวเลขที่ได้จากการนำ CF การลงทุน ไปลบออกจาก CF การบริหาร เรียกว่า “Free Cash Flow (FCF)” ในการบริหารกระแสเงินสดนั้น โดยหลักแล้ว FCF จะต้องมีสภาพเป็นบวก หมายความว่า “ผู้บริหารควรจะทำให้ CFC การบริหารมีมากที่สุด แล้วทำการลงทุนที่มีประสิทธิผลภายในกรอบนั้น ๆ”
3. กระแสเงินสดทางการเงิน (Cash Flow /CF ทางการเงิน)
การกู้เงินจากธนาคาร การออกพันธบัตรบริษัท การออกหุ้น (เพิ่มทุน) การจ่ายเงินปันผล การซื้อหุ้นบริษัทตัวเอง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการรับจ่ายเงินสดเพื่อการสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ จึงเรียกว่า “CF ทางการเงิน” ถ้ามองจากจุดยืนของการบริหารกระแสเงินสด การลงทุนควรจะอยู่ภายในกรอบของ CF การบริหาร แต่ทว่า การลงทุนซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือการซื้อกิจการบริษัทลูก ยอดเงินเพียงเท่านั้นคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องจัดหาจากการกู้ยืมธนาคารหรือการเพิ่มทุน
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
บทความโดย
: หนังสือ “ร้านไหนกำไรมากกว่ากัน” โดย Atsumu Hayashi แปลโดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์
747
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
เงินค่ามัดจำ คืออะไร
เงินค่ามัดจำ คืออะไร
เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
ทำไม Audit ถึงมีความสำคัญในธุรกิจทุกขนาด
ทำไม Audit ถึงมีความสำคัญในธุรกิจทุกขนาด
คำว่า audit คืออะไร ในบางมุมคนอาจแทนความหมายของ audit เป็นอาชีพ ซึ่งหมายถึงอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งอาชีพ audit นั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภท หรือในบางมุมหากมองว่า audit คือการกระทำ คำว่า audit จะมีความหมายว่า การตรวจสอบซึ่งก็สามารถแบ่งได้ออกเป็นอีกหลายประเภทเช่น
กองทุนลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
กองทุนลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี CPD
การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี CPD
การพัฒนาตัวเองเกี่ยวกับงานวิชาชีพด้านบัญชี
ธุรกิจซื้อมาขายไป
ธุรกิจซื้อมาขายไป
แนวทางการบันทึกบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป การขายสินค้าออนไลน์
Checklists ความผิดปกติปิดงบการเงิน
Checklists ความผิดปกติปิดงบการเงิน
เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com