แจ้งเอกสารหายออนไลน์ ไม่ต้องไปโรงพัก

แจ้งเอกสารหายออนไลน์ ไม่ต้องไปโรงพัก


เมื่อเอกสารหายก่อนอื่นคือต้องรีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานก่อนไปทำ เอกสารใหม่ที่หน่วยงานเอกสารต้นสังกัดนั้น การติดต่อราชการที่รู้สึกเสียเวลายุ่งยาก ยิ่งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งจะอยู่ในชีวิตของเราอีกนาน ทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกในการติดต่อ แต่ปัจจุบันมี 
“ระบบแจ้งเอกสารหายออนไลน์” ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องไปโรงพัก เรามาดูการใช้งานระบบใหม่นี้กันนะคะ

ระบบนี้เริ่มประกาศให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 สามารถแจ้งความผ่านระบบนี้ได้เพียง 17 จังหวัด (ข้อมูล ณ19 สิงหาคม 2564) ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา น่าน บุรีรัมย์ พะเยา ยโสธร ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน

การใช้งานระบบสามารถเข้าเว็บไซต์ http://www.แจ้งความออนไลน์.com เลือกเริ่มต้นใช้งานหรือล็อกอินผ่าน Line Account มีขั้นตอนเข้าสู่ระบบ ดังนี้



อย่างไรก็ตามเอกสารบางประเภทที่เมื่อหายไม่ต้องไปดำเนินการแจ้งความมี 6 ประเภท ดังนี้

1.ทะเบียนบ้าน เจ้าบ้านสามารถดำเนินการขอทำใหม่ได้เลย หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำ เรื่องให้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ

2.บัตรประจำตัว ประชาชนสามารถนำทะเบียนบ้านตัวจริงไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้เลย

3.บัตรประกันสังคม สามารถนำบัตรประชาชนไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทตนเอง

4.ใบขับขี่ สามารถนำบัตรประชาชนไปดำเนินการขอทำใบขับขี่ใหม่ ได้ที่กรมขนส่งทางบก หรือสำนักงานย่อย โดยไม่ต้องสอบขับขี่ใหม่ (กรณีใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ/แท็กซี่สูญหาย จะต้องนำใบแจ้งความไปใช้เป็นหลักฐานในการยื่นคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่)

5.แผ่นป้ายทะเบียนรถ สามารถนำสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการขอทำใหม่

6.บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี สามารถนำบัตรประชาชนและหรือทะเบียนบ้านไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ของตนเอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ที่มา : https://www.rd.go.th/fileadmin/eMagazines/online_092564.pdf
 2261
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ดังนั้นลักษณะของป้ายที่เสียภาษี ? ก็คงเป็นป้ายที่เกี่ยวกับการค้าหรือกิจการหารายได้ต่างๆนั้นเอง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์