รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล


การลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ 1.การลดหย่อนภาษีในการนำเงินรายจ่ายมาหักออก 2 เท่า

สำหรับนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งมีรายได้จากการขายสินค้า/บริการในรอบปีภาษีนั้นไม่เกินจำนวน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจการมาหักออกเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า ไม่ว่าจะเป็นค่าสอบบัญชี ค่าจัดทำบัญชี โดยสามารถนำค่ารายการเหล่านี้ในเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

2.การลดหย่อนภาษีสำหรับการเพิ่มรายจ่ายในรอบปีภาษีนั้น

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี มีได้หลายรายการ เช่น

1.เงินบริจาคที่ได้บริจาคในนามของนิติบุคคล

2.การจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือ ค่าจ้างนั้นต้องมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน/คน และต้องมีจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น

3.ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานในนิติบุคคลนั้น

4.ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน อันเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการดำเนินหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร แต่ทั้งหมดนี้มีเงื่อนไขว่านิติบุคคลนั้นจะต้องมีสินทรัพย์ถาวรจำนวนไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีจำนวนพนักงานภายในนิติบุคคลไม่เกินจำนวน 200 คน 

การลดหย่อนภาษีสำคัญอย่างไร ?

การเสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งถือว่าเป็น “หน้าที่” ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีเงินได้ จะต้องชำระภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนั้นหากมีการวางแผนการก่อให้เกิดรายจ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง รวมถึงยังสามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักออกจากการคำนวณเงินได้ ตามที่กฎหมายกำหนดยินยอมให้เป็นรายการซึ่งนำมาหักได้แล้ว ก็จะเป็นผลดีต่อผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : LINK

 588
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ผู้ทำบัญชี อย่าลืม “5 เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎมาย”
สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์