ผู้ตรวจสอบบัญชีคือใคร ทำไมต้องตรวจสอบบัญชี

ผู้ตรวจสอบบัญชีคือใคร ทำไมต้องตรวจสอบบัญชี


ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี

ทำไมต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี

เนื่องจากบริษัท และองค์กรต้องเผชิญกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางการเงิน ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีจะมีหน้าที่ตรวจสอบบันทึกทางการเงิน และข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ให้ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานสอบบัญชี และให้สอดคล้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

การตรวจสอบบัญชีเป็นกระบวนการภายในที่เน้นการลดความเสี่ยง และสิ่งที่ทำให้บริษัทสามารถประหยัดต้นทุนได้ นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบบัญชีสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีภานนอกของบริษัทได้อีกด้วย

การตรวจสอบบัญชีแตกต่างกับวิธีทางการเงินอื่นอย่างไร?

การตรวจสอบบัญชีแตกต่างจากเส้นทางการเงินอื่น ๆ เนื่องจากลักษณะของความรับผิดชอบที่ต้องมีความเข้มงวด ทำตามระยะเวลาที่กำหนด ใส่ใจในรายละเอียด และต้องเจอกับความท้าทาย ในขณะที่นักบัญชีจะให้คำแนะนำ และการสนับสนุนเกี่ยวกับการคืนภาษี การรับทำบัญชี และกระแสเงินสด

นอกจากนี้บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชียังแตกต่างจากบทบาทอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ระบบบริหารจัดการทรัพย์สิน หรือทำงานด้านวาณิชธนกิจ โดยจะเน้นไปที่เป้าหมายโดยรอบ เพื่อกำกับดูแล ให้คำปรึกษา และการปฏิบัติตามข้อกำหนดมากกว่าการเติบโตทางการเงินของบริษัท

ดังนั้นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบัญชีก็เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเลขในบัญชีที่เพิ่มขึ้นนั้น ผ่านการวิเคราะห์อย่างรอบคอบและการบริหารจัดการอย่างดี

บทความโดย : www.ar.co.th

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี

 1060
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่บันทึกเกี่ยวกับการว่าจ้าง
( ภาษาอังกฤษ There are many types )บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์