เช็กก่อน “ยื่นภาษี” ผิด สินค้าไหนไม่ต้องนำมารวมคำนวณฐาน “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”

เช็กก่อน “ยื่นภาษี” ผิด สินค้าไหนไม่ต้องนำมารวมคำนวณฐาน “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”



ตามหลักการแล้วเมื่อเจ้าของกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องนำรายได้ดังกล่าวมาคำนวณรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่กิจการต้องชำระในแต่ละเดือน

แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า! มีรายการขาย หรือการแจกสินค้า ที่เป็นค่าตอบแทนที่กิจการได้รับในลักษณะใดบ้าง ที่กิจการไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) 

เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ

1. สินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ถึงแม้จะเป็นสินค้าประเภท และชนิดเดียวกันกับสินค้าที่ขายหรือให้บริการ รวมถึงเป็นสินค้าชนิดอื่น ที่มีมูลค่าไม่เกินสินค้าที่ขายหรือให้บริการ ไม่ต้องนำมาคำนวณมูลค่าของฐานภาษี

2. สินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลกับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละวัน รวมกันตามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกำหนด และต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขาย หรือให้บริการสินค้าดังกล่าวไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี

3. รายได้จากการให้บริการที่เป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศขายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน(สินค้าไม่ได้ถูกส่งเข้ามาในประเทศไทยเลย)

4. สินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรได้ขายให้กับผู้ซื้อสินค้าในไทย โดยผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1(11) ได้ยื่นพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว

5. สินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน โดยผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรเป็นผู้นำเข้าได้ยื่นพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว

และผู้ซื้อสินค้าไม่ใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

6. สินค้าที่แจกหรือให้เป็นของขวัญ เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสตามประเพณี เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้า และเฉพาะที่เป็นปฏิทิน Diary สินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกับของขวัญ หรือของชำร่วยที่มีชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการปรากฏอยู่ 

โดยของขวัญหรือของชำร่วยต้องเป็นสิ่งของที่พึงให้แก่กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และต้องมีราคาหรือมูลค่าเหมาะสม ไม่สูงเกินสมควร

7. สินค้าตัวอย่างที่แจกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่นำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี

8. อาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้กับพนักงานหรือลูกจ้างในระหว่างเวลาปฏิบัติงาน ตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้าง โดยมูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มต้องมีราคาไม่สูงเกินไป 

9. สินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งสินค้านั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายได้นำเข้าจากต่างประเทศ และได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อ ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร เพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากรแล้ว

โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้า จะต้องมีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้

10. ค่าเครื่องแบบที่นายจ้างได้มอบให้แก่ลูกจ้าง ในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อปี และเสื้อนอกจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

​- เครื่องแบบ หมายถึงเครื่องแต่งกายรวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกาย ที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีมีค่า

​- เสื้อนอก รวมถึงชุดไทยพระราชทาน และเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ

11. ค่าตอบแทนที่พึงได้รับจากการมอบสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทดสอบใช้งานก่อนซื้อ โดยสินค้าไม่ใช่ของใช้สิ้นเปลือง และต้องเป็นสินค้าที่มีไว้สำหรับให้ทดลองใช้เป็นการชั่วคราว เพื่อทดลองคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้น ผู้ซื้อสินค้าจะต้องส่งมอบสินค้าคืนให้ผู้ขายเมื่อทดลองใช้เสร็จสิ้น

12. สินค้าหรือบริการที่ได้ขายหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งทำสัญญาเป็นหนังสือโดยตรงกับผู้ทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

โดยผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องทำสัญญากับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเป็นหนังสือ และต้องจัดทำรายงานตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด

13. สลากวินโต๊ดและเปร๊สโต๊ดที่ผู้ประกอบการสนามแข่งม้าขายให้แก่ผู้เล่นพนันแข่งม้า เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินรางวัลที่จะต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้เล่นพนันแข่งม้า

14. ทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ซึ่งเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณที่มีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ทองรูปพรรณจะต้องเป็นทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่างๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ โดยไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ รวมถึงนากที่สมาคมคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณ

15. ทรัพย์สินหรือสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนบริจาค ให้แก่ส่วนราชการตามโครงการของทางราชการตามโครงการของทางราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติในลักษณะทำนองเดียวกัน

16. ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้บริจาค ให้แก่ส่วนราชการตามโครงการของทางราชการ เพื่อให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

17. การให้บริการผลิตรถยนต์ต้นแบบ หรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบ ที่ใช้เพื่อการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ซึ่งผลิตให้แก่ผู้วิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิต

18. การให้บริการไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ให้บริการไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5(15) แอมแปร์ โดยใช้ไฟฟ้าไม่เกินจำนวนหน่วยที่กำหนดตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่ชาติ รวมถึงเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาส ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน (สำหรับมูลค่าของการให้บริการไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2559 เป็นต้นไป)



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : 
LINK

 362
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์