sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี
ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี
ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี
ย้อนกลับ
ข้อมูลทาง
การบัญชี
สื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มผู้ใช้ภายในองค์กร
1.1 เจ้าของกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น และกลุ่มผู้บริหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชีมากที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ในการวางแผน ตัดสินใจ การกำหนดนโยบายต่างๆ ในการบริหารธุรกิจ เช่น การวางแผนทางการเงิน การวางแผนทางบุคลากร การวางแผนเกี่ยวกับการขาย การกำหนดราคาสินค้า การควบคุมสินทรัพย์ รวมถึงการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย เป็นต้น
1.2 ลูกจ้างหรือพนักงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายค่าตอบแทน สวัสดิการบำเหน็จบำนาญและความมั่นคงในอนาคต
2. กลุ่มผู้ใช้ภายนอกองค์กร
2.1 นักลงทุน หมายถึง กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจ เพื่อหาประโยชน์หรือผลตอบแทน โดยก่อนการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจใดก็ตามนักลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลทางการบัญชีเพื่อพิจารณาถึงฐานะทางการเงินซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของธุรกิจ และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจนั้นเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าเงินลงทุนจะไม่สูญเปล่าและจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
2.2 ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เพราะแหล่งเงินทุนที่สำคัญของธุรกิจคือ การกู้ยืมไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ในการอนุมัติการกู้ยืมผู้ให้กู้จะต้องพิจารณาความเชื่อถือได้และความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ นอกจากนั้นเจ้าหนี้การค้าถึงแม้จะเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นยังต้องใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการพิจารณาความสามารถในการขายและการเก็บหนี้ซึ่งล้วนใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น
2.3 หน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น หน่วยงานของรัฐสนใจข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการจัดสรรทรัพยากร การจัดเก็บภาษี การควบคุมทางด้านการจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี การส่งเสริมการลงทุน การกำกับดูแลและควบคุมการประกอบการของธุรกิจ นอกจากนั้นข้อมูลทางการบัญชีจากงบการเงินของธุรกิจโดยรวม จะช่วยให้หน่วยงานของรัฐนำไปวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของทั้งประเทศ ใช้เป็นข้อมูลในการพยากรณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศและประโยชน์ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล
2.4 บุคคลทั่วไป ซึ่งหมายถึงประชาชนผู้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งอาจเป็นผู้ลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผู้สนใจจะลงทุนในอนาคต บุคคลเหล่านี้ย่อมต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะลงทุนซื้อหุ้น หรือลงทุนตั้งกิจการในรูปแบบต่างๆข้อมูลที่ปรากฏในรายงานทางการเงินของกิจการจะช่วยให้บุคคลผู้สนใจเหล่านั้นสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในกิจการที่ได้พิจารณาแล้วว่าสามารถจะให้ผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
บทความโดย
: lumyai.krutechnic
825
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาษาอังกฤษกับนักบัญชี
ภาษาอังกฤษกับนักบัญชี
ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก
งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี
งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
หักภาษี ณ ที่จ่าย เกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรอย่างไร ?
หักภาษี ณ ที่จ่าย เกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรอย่างไร ?
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
ทฤษฎีการจัดทำงบการเงินรวม
ทฤษฎีการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
กองทุนลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
กองทุนลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
สำนักงานบัญชีท่านเคยประสบบัญหาอย่างนี้หรือไม่ ?
สำนักงานบัญชีท่านเคยประสบบัญหาอย่างนี้หรือไม่ ?
ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชี มาจากลูกค้า มาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงาน ทั่วประเทศไทย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com