กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี

กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี


สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
         
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้บุคคลธรรมดาใดหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจใดในประเทศไทยตามเงื่อนไขใดเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ในกรณีที่มีประกาศของรัฐมนตรีให้อธิบดีกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชีครั้งแรกและกำหนดวิธีการจัดทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนนั้น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชีดังต่อไปนี้

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ
  • สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำตามมาตรา 8 วรรคสองของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำนั้นเริ่มต้นประกอบกิจการบทกำหนดโทษ ผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามที่ได้กล่าวมาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง


ที่มา : www.accountancy.in.th

 513
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร
การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ
ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลายบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว ในบทความนี้ Moneywecan จะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต้นทุนแฝงกันให้มากขึ้นค่ะ
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์