sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ย้อนกลับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT)
คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
แต่ก่อนอื่น เราจะต้องแบ่งให้ได้ก่อนว่าภาษีซื้อ และภาษีขายคืออะไร
ภาษีขาย
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ว่าง่ายๆก็คือ เราขายสินค้าออกไปเราก็ต้องเก็บ VAT เพื่อส่งให้แก่กรมสรรพากร
ในทางกลับกัน
ภาษีซื้อ
ก็คือภาษีที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บ เมื่อเกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการให้แก่เราก็จะเก็บส่วนหนึ่งที่ว่านี้ไปจ่าย สรรพากร
เพราะฉะนั้นเมื่อเราจ่ายภาษีซื้อให้คนอื่น เราก็ต้องเก็บภาษีขายเพื่อไปจ่ายสรรพากรเช่นกัน หากเราไม่คำนวณราคาสินค้าให้ดีหรือไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มลงไปในราคาสินค้า ให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วคนที่จะต้องแบกรับภาษีก็คือ บริษัทของเรานั่นเอง
แต่ถ้าถามว่าจริงๆแล้วใครเป็นคนแบกรับภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนนี้ คำตอบก็คือผู้บริโภค เพราะธุรกิจต้องจ่ายภาษีซื้อ แต่ก็สามารถเก็บภาษีขายมา ได้ด้วยเช่นกัน ผู้บริโภคต่างหากที่เป็นผู้แบกรับ เพราะผู้บริโภคสุดท้ายเป็นผู้จ่ายภาษีซื้อ และเมื่อบริโภคไป ไม่มีผลผลิตออกมา ทำให้ไม่สามารถขายออกไปได้จึงไม่มีภาษีขาย
การใช้ระบบที่รวมภาษีซื้อลงในราคาสินค้าทำให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปไม่เห็น ราคาสินค้าที่แท้จริง และไม่เห็นจำนวนภาษีที่จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่รู้ตัวว่าเป็นผู้แบกรับภาษีอยู่ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทหากไม่รู้จักภาษีมูลค่าเพิ่มสุดท้ายก็ต้องจ่าย สองครั้ง นั่นก็คือจ่ายเมื่อตอนซื้อสินค้ามา หรือจ่ายให้กับซัพพลายเออร์ และจ่ายให้กับสรรพากรโดยแบกรับภาษีตัวนี้แทนลูกค้าเสียเอง นั่นทำให้บริษัทจำเป็นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มิเช่นนั้นบริษัทก็จะแบกค่าใช้จ่ายส่วนนี้เองโดยไม่รู้ตัว
ภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย แต่เดิมได้ถูกกำหนดไว้ที่ 10% แต่เมื่อหลายปีก่อนรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้มีการใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อให้มีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จึงได้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือเพียงแค่ 7%
วิธีการคำนวณ VAT
จำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าราคาสินค้าที่ซัพพลายเออร์ (Supplier) เป็นผู้กำหนดนั้นเป็นราคาที่รวม VAT แล้วหรือยัง หากเป็นราคาที่รวมแล้ว จำเป็นจะต้องแยกออกมาโดยคำนวณให้ราคาสินค้าที่รวม VAT มีค่าเท่ากับ 107% หลังจากนั้นให้แยกราคาสินค้า และ VAT ออกจากกัน โดยให้ราคาสินค้าเท่ากับ 100% และ คำนวณให้ภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าเท่ากับ 7%
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ซื้อแป้งมาในราคา 500 บาท ซึ่งเป็นราคาที่รวม VAT แล้ว จะต้องเทียบ 500 บาทให้เท่ากับ 107% แล้วแยกราคาสินค้ากับภาษีมูลค่าเพิ่มออกมา ซึ่งใช้วิธีเทียบบัญญัติ ไตรยางค์ปกติก็ได้
นั่นหมายความว่า จากราคาสินค้าทั้งหมด เราได้จ่าย VAT ออกไปแล้ว 32.71 บาท บริษัทที่ขายสินค้าให้เรามีหน้าที่เก็บเงินส่วนนี้ไปให้กรมสรรพาการ และราคาสินค้าจริงๆจะอยู่ที่ 467.29 บาท
แต่ถ้าราคา 500 บาทเป็นราคาที่ไม่ได้รวม VAT เอาไว้ด้วย ราคาที่รวม VAT แล้วจะเป็น 535 บาท โดยเทียบสัดส่วนง่ายเหมือนข้างบน โดยหา 7% จาก 500 บาท ซึ่งก็คือ 35 บาท ทำให้ราคาสินค้ารวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้เท่ากับ 535 บาท ซึ่งโดยทั่วไปใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ก็จะแยกแสดงราคาสินค้า และภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ให้ดูเรียบร้อย
วิธีการคำนวณภาษีที่ต้องนำไปชำระ
ให้แบ่งภาษีซื้อและภาษีขายออกมาแล้วนำมาลบกัน เพราะภาษีซื้อก็คือภาษีที่ถือว่าเราจ่ายไปแล้ว ไม่ต้องนำส่งด้วยตัวเองอีก ซึ่งแตกต่างจากภาษีขาย ซึ่งเราเป็นผู้เก็บ เพราะฉะนั้นเราจะต้องเก็บ 7% ไว้เพื่อไปนำส่งในงวดที่จะถึง ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
สำหรับธุรกิจโดยทั่วไปไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หากมี Tax Invoice ที่เรียบร้อย เพราะในเอกสารจะมีการแยกภาษีให้ชัดเจน ซึ่งเท่ากับว่าคุณไม่ต้องคำนวณภาษีซื้อแล้ว ส่วนภาษีขายคุณก็สามารถกำหนดราคาได้เองว่าต้องรวม VAT กี่เปอร์เซ็นต์ จึงไม่ใช่เรื่องอยากในการคำนวณหากภาษีที่จะต้องนำส่ง
ยกตัวอย่างเช่น
สินค้าที่มีราคารวม VAT เท่ากับ 535 บาท สามารถแยกออกมาได้เป็นราคาสินค้า 500 บาท และภาษีซื้อ 35 บาท เมื่อขายสินค้าออกไปในราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่ากับ 2,140 บาท ก็จะแยกออกได้เป็น ราคาสินค้าอย่างเดียว 2,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 140 บาท เพราะฉะนั้นคุณจะต้องนำจ่ายสรรพากร 105 บาท (140-35)
อีกเรื่องหนึ่งที่อยากให้คำนึงถึง คือ สินค้าและบริการบางอย่างได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ปุ๋ย และสินค้าบางอย่างที่ไม่ส่งออก การให้บริการประกอบโรคศิลป์ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการวิจัย การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ล้วนแต่ได้รับการละเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณเองก็ควรดูว่าธุรกิจของคุณนั้นได้รับยกเว้นภาษีหรือเปล่า
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
บทความโดย
:
incquity.com
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีขาย
ภาษีซื้อ
696
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ใบกำกับภาษี และ ใบเสร็จรับเงิน แตกต่างกันอย่างไร
ใบกำกับภาษี และ ใบเสร็จรับเงิน แตกต่างกันอย่างไร
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
เรื่องต้องรู้ก่อนยื่นภาษี
เรื่องต้องรู้ก่อนยื่นภาษี
การยื่นภาษีมีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่าการยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนยื่นภาษี
บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร
บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร
เรามาดูกันว่า ตัวตนหรือบุคคลิกของนักบัญชี จะมีอะไรบ้าง
ภ.พ.36 คืออะไร และผู้ใดที่ต้องใช้ ภ.พ.36 บ้าง
ภ.พ.36 คืออะไร และผู้ใดที่ต้องใช้ ภ.พ.36 บ้าง
ภ.พ.36 คือ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร ใช้เมื่อได้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ฯ
3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ
3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ
หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?
ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com